ผมโดนตำรวจค้นรถ ให้ทำตามวิธี กระผมมิได้มีเจตนาที่จะชี้โพรงให้กระรอก

0

ผมโดนตำรวจค้นรถ ให้ทำตามวิธี กระผมมิได้มีเจตนาที่จะชี้โพรงให้กระรอก

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เราเชื่ออะไรว่าใครหลายคนจะต้องพบเจอมากับตัวเองอย่างแน่นอน มันเป็นเรื่องของการไม่คาดคิด การเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่างๆ

ในวันนี้เรามีวิธีความรู้ดีๆมาส่งต่อให้กับเพื่อนๆให้ทราบกัน เป็นความรู้ในเรื่องของกฎหมายที่ทุกคนควรจะต้องรู้ ในกรณีที่เราขับรถ แล้วอยู่ๆเกิดมีการค้นรถค้นตัว เราจะป้องกันและรักษาสิทธิ์ของเราได้อย่างไร ลองไปทำความเข้าใจกับเรื่องราวต่อไปนี้กันดู

“กระผมมิได้มีเจตนาที่จะชี้โพรงให้กระรอกใดๆแต่กระผมจะให้ความรู้กับประชา ชนทางด้านกฏหมายไว้ป้องกันตัวตามสถานะการณ์ที่เกิดขึ้น”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า

“ผู้ใดจำต้อง กระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตน หรือ ของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และ เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้น เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์ สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทด แทนเพื่อการนั้น”

กลายเป็นเรื่องราวประเด็นสุดฮอตในตอนนี้ หลายคนถามมาว่า ถ้าหากสมมุติถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้น เรามีสิทธิ์ที่จะทำอะไรได้บ้าง และสิ่งที่เราจะถ่ายภาพและบันทึกวีดีโอสามารถทำได้หรือไม่?

1. ถ้าเราทำการถ่ายภาพ หรือทำการบันทึกวิดีโอเอาไว้ โดยไม่ได้เป็นการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่นั้น ต้องขอบอกว่าทำได้ เพราะถือได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตัวเราเองโดยชอบด้วยกฎหมาย

2. ในการถ่ายภาพหรือทำการบันทึกวิดีโอเอาไว้นั้น ส่งผลดีและผลเสียเช่นกัน ถ้าเรามีสิ่งของที่ผิดกฎหมายก็จะสามารถเป็นหลักฐานในการเอาผิดเรา แต่ถ้าเราไม่มีก็จะเป็นหลักฐานยืนยันความบริสุทธิ์ได้

3. ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการค้นรถค้นตัวของเรานั้ัน เราควรที่จะให้เจ้าหน้าที่แสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการยื่นบัตรประจำตัว บัตรเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเราเอง และทำการขอให้เจ้าหน้าที่นั้นบันถึงวิดีโอในขณะตรวจ เพื่อเป็นหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่าย

4. เจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจค้นรถของเรานั้น เราควรให้เจ้าหน้าที่แสดงตนเองอย่างเปิดเผย โดยการถอดหมวกหรือหน้ากากที่สวมอยู่นั้น

5. อย่าอาย ให้ร้องดังๆ “ช่วยด้วยๆๆ” ให้คนมอง แล้วเอาวิกฤต เป็นโอกาส ใครก็ได้ ช่วยถ่ายวีดีโอไว้ขณะนั้น

6. ให้บุคคลที่แสดงตัวเป็นเจ้าพนัก งาน หรือผู้ช่วยเจ้าพนักงานฯ นั้น ต้องแสดง บัตรประจำตัว ทุกคน แล้วให้คนช่วยๆกัน ถ่ายภาพหรือถ่ายคลิปส์ไว้ พร้อมอ่านชื่อ~สกุล ดังๆ และ สังกัด ของแต่ละคนดังๆๆ

7. ตัวเรา หรือ ร้องขอให้คนช่วย โทรแจ้ง 191 หรือ ตำรวจท้องที่ หรือนักข่าว, มายังที่เกิดเหตุ

8. ให้เจ้าพนักงาน ที่จะทำการตรวจค้น เรานั้น โดยเราขอให้แต่ละบุคคล ถลกแขนเสื้อ ขึ้นให้หมด ทุกคน และถลกกระ เป๋ากางเกงออกให้ดูด้วย พร้อมให้คนช่วยบันทึกภาพหรือบันทึกวิดีโอไว้

9. ตัวเรา ก็ต้อง แสดงความบริสุทธิ์ใจ เช่นกัน เช่น ถลก กระเป๋ากางเกง ทั้งสองข้าง ออก ให้เจ้า พนักงานดู

10. หาทางรีบติดต่อญาติหรือคนใกล้ชิดให้ได้เร็วที่สุดให้มาหาเราณที่เกิดเหตุ หรือณ จุดเกิดเหตุ สมมติว่าถ้าเราอยู่ตัวคนเดียวตะโกนดังว่า ขอให้พี่ๆอย่าเพิ่งไปไหนอยู่กันเยอะๆ ได้โปรดอยู่ เป็นเพื่อนก่อน

11. ถ้าเรา ถูกควบคุมตัว ถ้าของกลาง มิใช่ ของๆเราห้ามหยิบ ห้ามจับ ห้ามแตะ เด็ดขาดขอย้ำๆๆ

12. อย่าไปกลัว ,ถ้าเราไม่ผิด นั้น อย่าลงชื่อใดๆในเอกสารทั้งสิ้นและถ้าจำต้องลงชื่อในเอกสารใดๆและมีหลายแผ่นนั้นขอให้อ่านช้าๆและอ่านให้เข้าใจแต่ละหน้าซึ่งถ้าถ้อยคำหรือข้อความไม่ใช่หรือไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงแล้วนั้นต้องขอให้แก้ไขให้เสร็จสิ้นเสียก่อนอล้วจึงลงชื่อย่อๆแต่ละหน้าๆเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือเพิ่มเติม

13. ถ้าเรา ไม่ได้กระทำความผิดอย่าชี้จุด เกิดเหตุให้ถ่ายภาพหรืออย่าชี้ของกลาง ถ้าไม่ใช่ของเราอย่าชี้เด็ดขาด

14. ขณะถูกควบคุมให้ญาติ,พี่น้อง,คนไว้วางใจ นั่งเฝ้าจนกว่าจะนำตัวส่งศาล

15. ขณะให้การใดๆ ร้องขอให้จนท.ติด ตามผู้ซึ่งไว้วางใจ หรือ ทนาย ความ เข้าฟังการสอบสวนจนกว่าจะแล้วเสร็จ

16. ถ้าเราไม่ผิดให้สวมวิญญาณนักร้อง (เรียน)เพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อสื่อมวลชน และหน่วยงานของรัฐหรือใช้สิทธิ์ทางศาลตามกระบวนการยุติธรรม

บทสรุป

กรณีอุทธาหรณ์ดังกล่าวข้างต้นนั้น ท่านสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมหรือพฤติการณ์แต่ละเหตุการณ์หรือแล้วแต่สถานะการณ์เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกท่าน

ขอขอบคุณ : ทนายสงกานต์

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here