เผยวิจัย คนที่ชอบโพสต์เรื่องส่วนตัวลงโชเซียล “มีความผิดปกติทางสมอง”
ในสังคมทุกวันนี้ต้องยอมรับเลยว่าอาการหนักกันจริงๆ ขนาดนั่งอยู่ต่อหน้ากันยังก้มหน้าก้มตาอยู่ตลอดเวลา ยิ่งบางคนแล้วนั้นชอบโพสต์ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตตนเองลงโซเชียล ไม่ว่าจะทำอะไร จะไปไหน อยากกินอะไร โชว์เงินโชว์ทอง ก็จะต้องโพสต์ไว้ตลอดเวลา เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันไปแล้ว
แน่นอนว่าใครหลายคนก็คงไม่เห็นด้วยกับข้อความข้างต้นนี้ เพราะว่าตัวเองก็ทำอยู่ และจริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ถ้าเราพูดถึงในเรื่องของการวิจัยแล้วนั้น มันบ่งบอกถึงการที่ สมองของเราผิดปกติ
งานวิจัยนี้ ไม่ใช่แค่การสำรวจทั่วไป แต่เป็นการวิจัยโดยใช้เครื่องมือวัดการทำงานของสมองทุกส่วนเลยทีเดียว และจากการศึกษากลุ่มอาสาสมัครที่เป็นพวกโพสต์ทุกเรื่อง กินข้าว ดูหนัง ไปไหนก็เช็คอิน มีเซลฟี่เสมอ มีการแชร์อยู่ตลอดในเฟซบุ๊ก พบว่าร่องรอยการทำงานของสมองทั้งส่วนที่ทำหน้าที่แสดงบุคลิกส่วนตัว จัดการพฤติกรรมทางสังคมของตัวเอง และส่วนที่ทำหน้าที่สะท้อนตัวตน ตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้สึกตัวเอง ทั้ง 2 ส่วนทำงานหนักมาก!
ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์สเตตัสต่างๆเพ้ออะไรมากมาย รูปเซลฟี่ตนเอง แม้กระทั่งคลิปวิดิโอ โดยมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นในสมองในส่วนที่เชื่อมโยงกับการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง จดจำพฤติกรรมที่ชอบแชร์ เน้นย้ำความทรงจำบ่อยๆ จนสมองนั้นสั่งการให้แชร์เรื่องเกี่ยวกับตนเองลงโซเซียลแบบรัวๆ โดยตนเองนั้นไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ
ดร.Dar Meshi ผู้นำทีมวิจัยเผย การศึกษาในครั้งนี้มีอาสาสมัครทั้งหมด 35 คน โดยทีมได้โฟกัสการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเล่นโซเชียลไว้ 2 ส่วน ได้แก่ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่แสดงบุคลิกภาพส่วนตัว รับผิดชอบการตัดสินใจ และจัดการพฤติกรรมทางสังคมของตัวเรา อีกส่วนคือสมองส่วน precuneus ทำหน้าที่สะท้อนความเป็นตัวตน และตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง
ทั้งนี้งานวิจัยได้เจาะจงกับโซเชียลมีเดียชนิดเดียวคือเฟซบุ๊ก ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานมาก และครอบคลุมทั้งการโพสต์สเตตัส รูป และคลิปวิดีโอ จากนั้นก็คัดกลุ่มอาสาสมัครตัวจี๊ดที่ชอบโพสต์เฟซบุ๊กบ่อย ๆ มาทำการศึกษาด้วยกระบวนการ Neuroimaging Technology สแกนสมองในส่วนที่โฟกัส และมาวัดความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสมองส่วนเน็ตเวิร์ก กับสถิติการโพสต์ของอาสาสมัครแต่ละคน
โดยการศึกษาพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ชอบโพสต์เฟซบุ๊กบ่อย ๆ จะมีร่องรอยการทำงานของสมองทั้งส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า และส่วน precuneus หนักมาก อีกทั้งยังลามมาทิ้งรอยหยักที่สมองส่วนข้างและด้านหลัง (lateral orbitofrontal cortex) อีกต่างหาก ต่างจากผลสแกนสมองของอาสาสมัครที่ไม่ค่อยมีประวัติโพสต์เฟซบุ๊กบ่อยเท่าไร
นอกจากนี้ผลการศึกษาจาก Gwendolyn Seidman of Albright College ยังเผยข้อมูลมาว่า สำหรับคนชอบโพสต์สเตตัสแสดงความรู้สึก และเรื่องดราม่าบ่อย ๆ อาจเป็นคนที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง มีความเก็บกด และมักจะใช้โลกออนไลน์แสดงความรู้สึก และบางคนมีแนวโน้มจะใช้โลกออนไลน์เพื่อหลีกหนีความจริงบางอย่าง หรือใช้มันเป็นหน้ากากปกปิดตัวตนที่แท้จริงของตัวเองอีกด้วย
แม้ยุคโซเชียลจะช่วยให้เราเข้าถึงเพื่อน ๆ และข้อมูลข่าวสารมากขึ้น แต่ก็อย่าลืมเงยหน้ามาพูดคุยกับคนรอบข้างกันบ้าง ถ้าวางมือถือออกมามองคนข้างๆบ้าง ชีวิตจะเป็นสุขขึ้นเยอะ เพราะเราไม่ต้องแข่งใคร ไม่ต้องเอาเรื่องใครมาปวดหัว เราควรที่จะเลือกใช้อย่างพอดีในแต่ละวัน อย่าไปยึดติดกับมันมากเกินไป เพราะจะทำให้คุณกลายเป็นคนติดโซเซียลขนาดหนักโดยไม่รู้ตัว
ขอขอบคุณ : gangbeauty