10 ผักสมุนไพรพื้นบ้าน ต้านโรคความจำเสื่อม เพิ่มความอ่อนเยาว์

0

10 ผักสมุนไพรพื้นบ้าน ต้านโรคความจำเสื่อม เพิ่มความอ่อนเยาว์

เพื่อนๆทุกคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าพืชผักสมุนไพรนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมาก ทั้งเป็นยาบำรุงร่างกายและสามารถรักษาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับต่างกายของเราได้ดี วันนี้เราได้นำ 10 ผักพื้นบ้านสมุนไพรที่ส่วนช่วยในการบำรุงสมอง ต้านโรคความจำเสื่อม แถมยังชะลอริ้วรอยได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว มีอะไรบ้าง มาดูกันเลยคะ

1. ผักกูด

ผักกูด ผักสมุนไพรที่หลายๆท่านชอบทาน เพราะมีรสชาติที่อมหวานเนื้อกรอบ ส่วนใหญ่คนนิยมกินกันที่ยอดและใบอ่อน ผักกูดที่เรากินกันมักนิยมเอาไปต้มหรือลวก และสามารถนำไปทำแกงหรือผัดกับน้ำมันเฉยๆก็อร่อยได้ แต่ที่สำคัญมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเรามากๆ

2. ใบชะพลู

เป็นผักที่มีกลิ่นหอม มีรสชาติที่เพชรอ่อนๆ เป็นผักสดที่นิยมทานคู่กับอาหารรสแซ่บ เช่นในเมนูของลาบน้ำตก รวมถึงน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นผักที่ช่วยชูรสชาติของอาหารได้เป็นอย่างดี ในทางภาคอีสานนิยมใส่ในแกงอ่อมต่างๆ แกงหัวปลี ภาคใต้นิยมใช้แกงกะทิใส่ใบชะพลูรวมกับหอยแครง ส่วนภาคกลางนิยมใส่แกงคั่วหอยขม หรือกินกับข้าวมันส้มตำที่เรานิยมทานกัน และเมนูที่นิยมทานกันมากที่สุดก็จะเป็นเมนูเมี่ยงคำ ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ ขับลม ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้ดีมาก

3. ผักหวาน

ผักหวานมีรสชาติหวานสมชื่อ นิยมนำไปนึ่งแล้วจิ้มกับน้ำพริกแจ่วสารพัดชนิด นอกจากนี้ยังใช้ทำแกงได้ คนอีสานนิยมนำไปแกงใส่ใข่มดแดง อันเป็นอาหารขึ้นชื่อยอดฮิต หรือแกงใส่ปลาย่างผสมใบชะอม ทำเป็นแกงอ่อมก็อร่อยดี ทางเหนือนิยมแกงผักหวานใส่ปลาย่างกับวุ้นเส้น ส่วนคนกรุงยังนำผักหวานไปผัดกับน้ำมันร้อนๆ ปรุงด้วยซีอิ๊ว เหยาะเกลือนิดก็อร่อย

4. ใบบัวบก

คนทั่วทุกภาคนิยมกินใบบัวบก แต่ชื่อที่เรียกจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือและอีสานเรียก ผักหนอก ภาคใต้เรียกผักแว่น ใบบัวบกมีรสขมอ่อนๆ กลิ่นหอมและเป็นพืชที่กินสดๆ ได้ทั้งก้านและใบ จึงเป็นผักแกล้มอาหารรสเข้มข้นจานต่างๆได้อร่อย เช่น แกล้มน้ำพริก ส้มตำ และอาหารจานเดี่ยว เช่น หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัด นอกจากนี้ยังใส่ในแกงเผ็ดและยำ ทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้น นอกจากทำอาหารแล้วบัวบกยังนำมาคั้น ผสมน้ำตาลเล็กน้อย เป็นน้ำสมุนไพรดื่มให้รสหวาน หอม เย็นชุ่มคอ บัวบกช่วยระบายความร้อน แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง แก้ไมเกรน บัวบกแก้ช้ำใน ทำให้โลหิตกระจาย หายฟกช้ำเร็วขึ้น

5. ผักปลัง

ชาวเหนือเรียกผักปั๋ง กินอร่อยได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกอ่อน กินเป็นผักต้ม ลวกหรือนึ่งสุก จิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมกินกับน้ำพริกดำ น้ำพริกตาแดง เอาไปแกงกับถั่วเน่า ชาวเหนือกับอีสานเอายอดอ่อนกับดอกอ่อนไปแกงส้ม เคล็ดลับความอร่อย ควรใส่ผักปลังลงในหม้อเป็นสิ่งสุดท้ายหลังจากน้ำแกงเดือดเต็มที่ เวลาใส่ผักลงไปควรกดให้จม พอเดือดสักพักก็ปิดไฟ ไม่ควรรอให้เดือดนาน เพราะจะทำให้ผักปลังเละไม่น่ากิน ชาวเมืองกรุงทำเป็นผัดผักไฟแดง หรือผัดน้ำมันหอย ผักปลังช่วยในการระบาย จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย

6. ไหลบัว

ไหลบัวคือหน่ออ่อนของต้นดอกบัวหลวงที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งต่างจากสายบัวที่เป็นส่วนก้านดอกของบัวสาย ไหลบัวมีความกรอบและรสชาติหวานมันจึงนิยมนำมากินสด คนอีสานนิยมกินเป็นผักสดกับส้มตำ แต่คนภาคกลางนิยมนำไปแกงส้ม ผัด หรือไม่ก็กินสดๆ ปัจจุบันเป็นไหลบัวผัดกุ้งเป็นเมนูยอดนิยมในภัตตาคาร ถือเป็นยาเย็น ช่วยบำรุงร่างกาย

7. ผักแพว

ผักแพวหรือที่คนอีสานเรียกว่าผักแพ้ว ผักพริกม้า ส่วนคนเหนือเรียกผักไผ่ ความอร่อยของผักแพวอยู่ที่กลิ่นหอมและรสร้อนแรง จึงนิยมกินเป็นผักสดแนมกับอาหารรสจัดแทบทุกชนิด และนำไปปรุงเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารประเภทลาบ และใส่แกงปลารสจัด เพื่อตัดกลิ่นคาวปลาพร้อมกับปรุงอาหารประเภทหอยเพื่อเสริมความหอม กินแล้วช่วยขับลมในกระเพาะดีนัก

8. ใบยอ

ใบยอมีรสชาติขม และกลิ่นเฉพาะตัว แต่มีบทบาทอย่างมากในอาหารทั่วทุกภาค ที่เด่นสุดคือ ภาค กลางใช้เป็นผักรองกระทงห่อหมก เพราะความอร่อยของห่อหมกเข้ากันได้ดีกับใบยอ และยังไม่มีผักอื่นเข้ามาแข่งได้ ส่วนภาคอีสานนำไปทำแกงอ่อมใบยอ และภาคใต้ก็มีแกงรสเด็ดไม่แพ้กันคือ แกงเผ็ดปลาใส่ขมิ้นใบยอ การกินใบยอให้อร่อยควรตัดเส้นกลางใบออกและลวกก่อนนำมาแกง จะช่วยลดความขมได้ ใบยอช่วยบำรุงร่างกาย แก้ปวดท้อง ท้องร่วง

9. ย่านาง

จัดเป็นพืชประจำครัวภาคเหนือและอีสาน ภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ครัวอีสานใช้ใบย่านางผสมกับข้าวเบือ (ข้าวสารที่ตำละเอียด ใช้ผสมกับน้ำแกงเพื่อให้น้ำแกงข้น)มาทำแกงหน่อไม้ไผ่ป่า เป็นลักษณะต้มเปอะ คือแกงที่มีน้ำขลุกขลิก ใบย่านางทำให้เกิดรสกลมกล่อมอมหวาน อีกทั้งเพื่อกลบรสขื่นและขมนิดๆ ของหน่อไม้สด นอกจากนี้ยังผสมซุปหน่อไม้ ใส่แกงขี้เหล็กแบบพื้นบ้าน แกงกับยอดหวาย ภาคเหนือใส่ในแกงพื้นเมืองที่คล้ายกัน ใบย่านางที่นำมาใช้ในการทำอาหารนั้นยิ่งใส่มากเท่าไร ยิ่งทำให้อาหารจานนั้นอร่อยยิ่งขึ้น กินย่านางช่วยถอนไข้ได้

10. ปลีกล้วย

ปลีกล้วยที่ใช้ทำอาหารส่วนใหญ่เป็นปลีกล้วยน้ำว้า เพราะฝาดน้อยและหาง่ายกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ หัวปลีสีแดงเมื่อแกะใบเลี้ยงออกจนถึงชั้นที่มีสีขาวนวล จะนำมาผ่าปลีตามยาวเป็นส่วนๆ แล้ว ต้องนำไปแช่น้ำผสมน้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวก่อน เพื่อรักษาปลีกล้วยให้ขาวนวลน่ากิน อาหารนิยมกินปลีกล้วยสดกับเต้าเจี้ยวหลน กะปิคั่ว  ชุบแป้งทอด ปรุงเป็นแกงเลียง หัวปลีแก้โลหิตจาง ลดความดันโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ที่สำคัญคือบำรุงน้ำนมในคุณแม่ลูกอ่อน

ขอบคุณข้อมูลจาก : samunpraibann

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here