อย่าเสียรู้ ทิ้งเงินก้อนโต เงื่อนไขรับเงินคืนจาก ”ประกันสังคม” บางคนได้เกือบแสน

0

อย่าเสียรู้ ทิ้งเงินก้อนโต เงื่อนไขรับเงินคืนจาก ”ประกันสังคม” บางคนได้เกือบแสน

สำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ที่จะต้องจ่ายเงินประกันสังคม จะต้องสมทบเงินประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งจะหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 750 บาท นั่นก็คือคนที่ได้รับเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปนั้นเอง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า สำนักงานประกันสังคมนั้น เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไรกันบ้าง

ระบบงานประกันสังคม เป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่บ้านเรานั้นเพิ่งจะเริ่มมี โดยประกันสังคมนั้นเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง มันก็คือ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน

ข้อดีของเงินประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเราจะจ่ายเงินประกันสังคมอย่างนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายประกันสังคมสมทบกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่ายนั้นก็คือ

1. ฝ่ายรัฐบาล

2. ส่วนนายจ้าง

3. ลูกจ้าง

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 5% ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

2. 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

3. 450 บาท สำหรับเก็บเป็นเงินออม จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น

– 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสีย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ

– กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสีย

– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)

สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนเสีย

กรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท เสียปุ๊บ รับ 63,750 บาท

เรียบเรียงโดย : Postsara

ขอขอบคุณ : สำนักงานประกันสังคม, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here