หลายคนอาจเป็นอยู่ โรคคิดว่าตัวเองไร้ค่าและไม่เก่งจริง

0

หลายคนอาจเป็นอยู่ โรคคิดว่าตัวเองไร้ค่าและไม่เก่งจริง

เคยกันไหมเวลาที่เราทำอะไรสักอย่างแล้วประสบความสำเร็จ แล้วก็จะมีบุญมาชมเราว่าเราทำงานดี แต่ทำไมเราเองกลับรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องฟลุกซะมากกว่า

มีบางเรื่องที่เราทำคะแนนสอบออกมาได้ดีแต่กลับไม่ได้รู้สึกว่าภาคภูมิใจเลย แถมนำซ้ำยังคิดไปเองว่าเรานั้นไม่คู่ควรกับคำชื่นชม ความสามารถของเรานั้นไม่ใช่ของจริง และก็คงไม่มีโอกาสที่จะทำได้ขนาดนี้อีกแล้ว

ถ้าหากใครมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ ทางจิตวิทยาเรียกความรู้สึกแบบนี้ว่า “Imposter Syndrome” หรือที่เรียกกันว่าความรู้สึกคิดว่าตัวเองด้อยค่า คิดว่าตัวเองไม่เก่ง

แม้ว่าทางแพทย์จะไม่สามารถระบุอาการได้อย่างเป็นทางการ แต่การที่เรามีความคิดในแง่ลบ และดูถูกตัวเอง มันก็อาจจะเป็นจุดที่สำคัญในเรื่องของสภาพจิตใจของเรา และสุดท้ายก็นำไปสู่จิตเวชอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเครียด และซึมเศร้า

ดร.วาเลรี ยัง นักเขียนและนักจิตวิทยาชื่อดัง ได้สรุปอาการเหล่านี้ลงในงานวิจัยของเธอว่ามีคน 5 ประเภทที่อาจเข้าค่าย Imposter Syndrome

1. The Perfectionist หรือ คนที่ค่อนข้างเจ้าระเบียบ เสพติดความเพอร์เฟกต์ก็อาจจะเข้าข่าย เพราะว่าเพอร์เฟกต์ชันนิสต์มักจะตั้งเป้าหมายไว้สูงในทุกเรื่องที่ทำ และถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่สามารถทำได้ตามสิ่งที่หวังไว้ ก็จะเกิดความวิตกกังวลที่สูงมากกว่าคนทั่วไป และอาจทำให้ครุ่นคิดและกล่าวว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอที่จะทำให้สำเร็จได้

2. The Superwoman / Superman หรือคนที่พยายามรักษามาตรฐานในการทำงานของตัวเอง ยิ่งทำดีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งคาดหวังและสร้างความกดดันให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว เหมือนกับเหล่าฮีโร่ที่หลายคนคาดหวังว่าเค้าจะต้องทำดีเสมอต้นเสมอปลาย โดยบางทีก็ไม่รู้ตัวว่าความคาดหวังนั้นอาจกดความรู้สึกตัวเองให้แย่ลง

3. The Natural Genius หรือคนประเภทที่ฉลาดโดยธรรมชาติหรือมีพรสวรรค์มาแต่เกิด ก็อาจเข้าข่าย เพราะว่าคนประเภทนี้มักจะตัดสินความสำเร็จจากความคุ้นชินของตัวเอง พูดง่ายๆ คือ ถ้าต้องทำงานบางอย่างให้หนักขึ้นไปอีก เค้าก็อาจจะคิดว่าตัวเองต้องแย่แน่ๆ ไม่สามารถทำได้อีกแน่นอน

4. The Rugged Individualist หรือ คนประเภทปัจเจกนิยม ไม่ชอบพึ่งพาใคร รักที่จะทำงานแบบอิสระมากกว่า คิดว่าตัวเองไม่เก่งพอที่จะสามารถทำงานกับใครได้ เลยเลือกที่จะพึ่งพาตัวเองมากกว่า

5. The Expert หรือ คนที่เก่งและเชี่ยวชาญมากๆ ในสายตาคนอื่น แต่ในมุมตัวเองกลับมีความรู้สึกลึกๆ ว่าไม่ได้เก่งจริง สิ่งที่เค้าทำอยู่มันไม่ได้ดีขนาดที่ทุกคนจะกล่าวชื่นชม และบางคนก็รู้สึกว่าตัวเองกำลังหลอกคนอื่นว่าตัวเองเก่ง กลัวคนอื่นจะมาเปิดโปงว่าที่แท้จริงแล้วเราไม่ได้เก่งจริง

ความจริงแล้ว Imposter Syndrome นั้นสามารถแก้ไขให้หายได้ แต่จะให้แก้แบบหายขาดมันก็อาจจะยาก เพราะกว่าเราจะมาถึงจุดนี้ มันก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวเราเอง ลองค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่าพยามกดดันตัวเองมากเกินไป

ถ้าใจฟุ้งซ่านก็ลองโฟกัสอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่ทำให้เรามีความสุข และพึงระลึกไว้เสมอว่า “ใครๆ ก็สามารถทำผิดพลาดได้ อย่าโทษตัวเองนักเลย”

เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และข้อผิดพลาดเหล่านั้นมันไม่ได้แย่ไปซะหมด เพราะมันอาจทำให้เราเติบโตไปอีกขั้นต่างหาก

ใครกำลังเป็นอยู่ ลองดูคลิป 2 คลิปนี้ เผื่อช่วยได้ ดิฉันรู้สึกดีขึ้น หลังจากได้ดู2 คลิปนี้ รู้สึกเหมือนโลกสวยขึ้นเยอะจริงๆค่ะ

เรียบเรียงโดย : Postsara

ขอขอบคุณ : Study Abroad เรียนต่อนอก by Dek-D

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here