แพทย์เตือน คนวัยทำงานยุคใหม่ ทำไมต้องสนใจ “การนอน (และเมลาโทนิน)”

0

แพทย์เตือน คนวัยทำงานยุคใหม่ ทำไมต้องสนใจ “การนอน (และเมลาโทนิน)”

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ศึกษาด้านเรื่องการเรียนรู้และภาวะสมองเสื่อม อาจารย์ถามคำถามง่ายๆ แต่สำคัญที่สุด

“หมู่นี้มีโอกาสนอนดีๆบ้างแล้วหรือยัง?”

การนอนช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ผ่านกลไกของฮอร์โมน “เมลาโทนิน” (Melatonin) ธรรมชาติออกแบบเรามาได้อย่างยอดเยี่ยมทีเดียว ถ้ารู้จักที่จะไม่ฝืนมันมากเกินไป

ร่างกายของคนเราสร้างเมลาโทนินได้เองครับ อยู่ในบริเวณต่อมไพเนียล (pineal gland) ช่วยควบคุมการนอนหลับ และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาชีวิต บอกว่าเวลาไหนเราควรนอนอย่างเป็นธรรมชาติ

โรคสมองเสื่อมมีสาเหตุจากสารพิษ “เบต้าอะมิลอยด์” (Aß) ในสมอง อันเกิดจากกิจกรรมทางเคมีที่สมองสร้างขึ้นตลอดวัน เพราะสมองเราทำงานหนักมากเลยนะ ใช้พลังงานสูงมาก เบต้าอะมิลอยด์ที่เกิดขึ้นนี้จะเร่งกระบวนการเสื่อมให้เร็วขึ้น

คณะวิจัยฯพบเรื่องน่าทึ่งเป็นครั้งแรกว่า ฮอร์โมนเมลาโทนินสามารถยับยั้งเอ็นไซม์ที่ผลิตสารพิษ“เบต้าอะมิลอยด์” (Aß) ที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ และยังพบปัจจัยลบอื่นๆ เช่น ความเครียด สารเสพติด ภาวะไขมันโคเลสเตอรอล และโรคเบาหวาน ที่ล้วนทำให้เราสมองเสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร

การนอนหลับ หรือให้เมลาโทนินทดแทน มีส่วนช่วยกระตุ้นสร้างเซลล์ประสาทใหม่ และซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่ตา.ยไประหว่างเป็นโรค ลดเอ็นไซม์ที่สร้างสารที่เป็นพิษซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคสมองเสื่อมอีกด้วย

ผมตั้งปณิธานให้ตัวเองไว้เสมอ When in doubt, go to sleep ชีวิตจะยุ่งเหยิงยังไง ไปนอนก่อนแล้วค่อยมาแก้ งานวิจัยใหม่ๆทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงของกลไกทางธรรมชาติที่อยู่ในตัวเรามีตลอด

ปล. บทความหน้าผมจะแนะนำ อาหารบำรุงสมอง เสริมความจำให้ดีกว่าเดิม

อย่านอนดึกมากนะครับ เดี๋ยวสมองเสื่อมเร็ว แล้วอย่าลืมส่งต่อให้กับคนที่คุณรัก และเป็นห่วงนะครับ

ขอขอบคุณ : Thanet Ratanakul

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here