ผมเคยอ่านมานานมากแล้ว นิทานกึ่งธรรมะ คน 3 คนในตัวเรา

0

ผมเคยอ่านมานานมากแล้ว นิทานกึ่งธรรมะ คน 3 คนในตัวเรา

สำหรับในวันนี้เรามีนิทานกึ่งธรรมะมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ เรื่องนี้ผมเคยอ่านมานานมากแล้ว และเป็นเรื่องราวที่ให้ข้อคิดดีมากๆสำหรับคนในยุคปัจจุบัน

ผมพยายามหาที่มาที่ไปของบทความนี้แล้วก็หาไม่เจอจริงๆ ท่านใดนึกออกก็สามารถแจ้งมาให้ผมใส่เครดิตได้ดีครับ

ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง

หลังจากที่หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาต ก็ได้เห็นลูกศิษย์ลูกหาที่วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเดินเข้าไปถามว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ก็ตอบกลับมาว่า

ผมถูกคนอื่นใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระเลย ผมเพียงแต่เอาเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อยๆ เพราะทุกคนเห็นผมเข้าไปบ่อยๆแล้วเงินก็มาหายพอดี ผมก็เลยตกเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮื้อ ฮื้อ

หลวงตานั่งข้างๆและพยักหน้าประมาณว่าเข้าใจ แล้วก็สอนกับลูกศิษย์ว่า

“เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ” ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา และหลวงตาก็กล่าวต่อไปว่า

“คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็นนั้น มันเป็นปกติของคนเราล้วนมี ความฝัน ความทะยานอยากได้ อยากเป็นตามประสาปุถุชนทั่วไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย

บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา

ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ”

“มาถึงไอ่ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก

แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ่ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้” หลวงตาได้ยกตัวอย่างต่อไปว่า…

“อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบคนใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่คนนั้น ถูกรถชนอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นคนทำ”

“สมัยที่หลวงตา ยังไม่ได้บวชเคยไปส่งเพื่อนผู้หญิงที่มีผัวแล้ว เพราะเห็นว่าบ้านเป็นซอยเปลี่ยว ส่งได้สองครั้งก็เป็นเรื่อง ชาวบ้านซุบซิบนินทา หาว่าเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน

คนที่เห็นนั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม”

“เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล”

“แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อยๆ”

ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้วเริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา

“เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ

เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ยังไม่ต้องชำระใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่

เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารมีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม”

“เข้าใจครับหลวงตา” เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here