เผยวิธีเพาะเห็ดโคน เห็นผลดีขายได้100% ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
เห็ดโคน เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่เป็นเห็ดป่า เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของธรรมชาติที่มีความชุ่มชื้นและมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ เห็ดโคนจะมีรูปร่างเหมือนเห็ดทั่วไป คือจะมีก้านเห็ด และมีหมวกเห็ดโคนอวบหนา มีดอกใหญ่ และที่สำคัญมีกลิ่นเฉพาะตัว มักเกิดตามจอมปลวกหรือเราและอีกชื่อหนึ่งว่าเห็ดปลวก
คนนั้นคนเรานิยมนำมาประกอบอาหารที่หลากหลาย โดยรสชาติของเห็ดมีรสชาติที่ดีน่ารับประทาน จึงจัดเป็นเห็ดหายาก ที่ต้องหาตามป่าตามเขาที่ห่างไกลจากความเจริญ รสชาติของเห็ดนั้นมีความหอมหวานอร่อยกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ นำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนูนำมาปรุงง่าย เพียงแค่ต้มกับเกลือก็ได้น้ำต้มเห็ดรสหวานจากธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนั้นยังนำไปทำในเมนูต้มเห็ด แกงเห็ด ผัดผักเห็ด อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยในการเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี
วงจรชีวิตของเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกนั้น ต้องพึ่งพาปลวกเข้ามาช่วย จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ปลวกงานจะนำเอาสปอร์ ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่นๆ ไปปลูกในรังให้เป็นอาหารของปลวกวัยอ่อน ส่วนสปอร์ที่หลงเหลือ เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝนก็จะเติบโตโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาปรากฏให้เห็น และเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์เรา
วิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากนำจาวปลวก ที่อยู่ภายในจอมปลวก มีขนาดใกล้เคียงกับกะลามะพร้าวผ่าซีก จอมปลวกหนึ่งรังจะมีจาวปลวกหลายอัน มีลักษณะเบา โปร่ง ซุย มีรอยทางเดิน ซอกแซก ทะลุถึงกันได้ จาวปลวกน่าจะเป็นสวนปลูกเห็ดอ่อน เพราะมีเส้นใยขาวเต็มไปหมด สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป
เกษตรกรจะนำส่วนนี้ออกมาถู หรือขยี้ ให้เป็นฝุ่นโปรยลงบนข้าวเหนียวนึ่งสุก ทิ้งให้เย็น เติมน้ำเล็กน้อยแล้วคลุกให้เข้ากัน คล้ายกับการทำสาโท นำไปหมักในถังพลาสติก ปิดปากถังด้วยผ้าขาวบาง เกษตรกรบางท่านอาจฉีกหมวกเห็ดโคนผสมลงไปด้วยก็มี เก็บในร่ม ปล่อยให้เส้นใยเจริญเพิ่มปริมาณจนมองเห็นสีขาวชัดเจน ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงนำไปหว่านในสวนในร่มรำไร อย่าให้แสงแดดจ้า ในช่วงแล้งควรสับฟางข้าว หรือนำใบไม้แห้งโรยลงพื้นเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุเป็นอาหารชั้นดีของเห็ด
เมื่อเราเตรียมหัวเชื้อไว้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงนำมาหว่านลงบนดิน ให้พอดีในช่วงของฤดูฝนหากฝนทิ้งช่วงที่ควรหมั่นรดน้ำเป็นครั้งเป็นคราว รออีกประมาณ 30 ถึง 45 วันจะมีดอกเห็ดที่ปรากฏให้เราเห็น ทั้งหมดนี้เป็นวิธีของภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนที่ใช้ในความพยายามทำซ้ำๆหลายๆครั้งจึงประสบความสำเร็จอย่างปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอเกษตรทองกวาว , technologychaoban