เพียงดื่มน้ำกระเจี๊ยบสูตรดี เบาหวาน คอเลสเตอรอล และโรคไต ก็หายได้
สมุนไพรที่ชื่อว่า “กระเจี๊ยบเขียว” ยังมีอีกชื่อหนึ่งตามภาษาท้องถิ่น กระต้าด กระเจี๊ยบมอญ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย มะเขือขื่น มะเขือมื่น และยังมีอีกชื่อเรียกมากมายที่ต่างภาคต่างจังหวัดเรียกกัน
สำหรับประเทศไทยแล้วนั้นพื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวมากที่สุดส่วนใหญ่นั้นจะเกิดที่ภาคกลาง อย่างเช่นนครปฐม นครนายก ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร เป็นต้น
การบริโภคกระเจี๊ยบเขียวให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึง
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
– ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
– ช่วยลดระดับน้ำตาลโดยผ่านการบริโภคโดยตรง
– บรรเทาอาการโรคหอบหืด
– ป้องกันการเกิดโรคไต
เราจะนำเสนอสูตรน้ำกระเจี๊ยบซึ่งจะช่วยให้เกิดความสมดุลของระดับน้ำตาลในโลหิตของคุณอย่างเป็นธรรมชาติ
ส่วนผสม
1. กระเจี๊ยบเขียวสด 4-5 ฝัก
2. น้ำหนึ่งถ้วย (น้ำสะอาด ใช้น้ำแร่จะดีมากๆ)
วิธีทำ
1. ให้ควรตัดหัวและหางของกระเจี๊ยบออก
2. ส่วนที่เหลือ หันเป็นแว่นตามภาพ
3. ใส่ลงไปในน้ำ
4. แช่ทิ้งไว้ตลอดทั้งคืน
วิธีใช้
– คุณควรดื่มเครื่องดื่มนี้ในขณะท้องว่าง ก่อนมื้อเช้า 30 นาที มันจะให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วจนทำให้คุณประหลาดใจ
สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว
1. ฝักกระเจี๊ยบเขียวมีเส้นใยอยู่มาก จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในโลหิตให้คงที่ได้ โดยช่วยรักษาระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ให้คงที่ กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ผล)
2. ใช้เป็นยาบำรุงสมอง (ผล)
3. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาความดันให้เป็นปกติ (ผล)
4. ผลช่วยแก้อาการหวัด รักษาหวัด (ผล)
5. ช่วยป้องกันอาการหลอดโลหิตตีบตัน (ผล)
6. ใบช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
7. ใบกระเจี๊ยบช่วยแก้โรคปากนกกระจอก (ใบ)
8. เส้นใยของกระเจี๊ยบยังช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่น้ำดี ซึ่งจะช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้ คล้ายกับการกินยาลดไขมันและคอเลสเตอรอล (สแตติน) (ผล)
9. ช่วยกำจัดสิ่งไม่ดีออกจากร่างกายและช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยเส้นใยของกระเจี๊ยบเป็นตัวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ โดยการจับกับน้ำดี ซึ่งมักจับสิ่งไม่ดีที่ร่างกายต้องการขับถ่ายที่ถูกส่งมาจากตับ และสารเมือกในฝักยังช่วยจับสิ่งไม่ดีเหล่านี้ ซึ่งการจับกับน้ำดีนี้จะเกิดในลำไส้และขับออกมาทางอุจจาระ ทำให้ไม่เหลือสิ่งไม่ดีตกค้างอยู่ในลำไส้ (ผล)
10. ผักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล)
11. การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย จึงช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี และช่วยในการทำงานของระบบดูดซีมสารอาหาร ช่วยสนับสนุนการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (โพรไบโอติกแบคทีเรีย) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ผล)
12. ในฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารที่เป็นเมือกจำพวกเพกทิน (Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของแผลได้เป็นอย่างดี (ได้ผลดีเท่า ๆ กับยา Misoprotol) และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (ผล)
เมือกลื่นในฝักกระเจี๊ยบ ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะไม่เกิดการระคายเคือง ช่วยทำให้อาหารถูกย่อยในลำไส้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (ผล)
13. ช่วยแก้บิด ด้วยการใช้ผลแก่นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับน้ำดื่มแก้อาการ (ผล)
14. ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ หรือในผู้ป่วยที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ (ผล)
15. ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อนกลับ ด้วยการนำฝักกระเจี๊ยบมาต้มในน้ำเกลือแล้วใช้กินแก้อาการ (ผล)
16. ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด (สาเหตุมาจากการได้รับตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในเนื้อดิบ เช่น หมู เป็ด ไก่ กบ กุ้ง เนื้อปลา เป็นต้น) ด้วยการรับประทานฝักกระเจี๊ยบติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน แต่สำหรับบางรายต้องรับประทานเป็นเดือนจึงจะหาย (ผล)
17. ช่วยแก้อาการขัดเบา (ในอินเดีย) (ผล)
18. ในตำรายาแผนโบราณของจีน มีการนำราก เมล็ด และดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศอินเดียนั้นจะใช้ฝักนำมาต้มกับน้ำดื่มเพื่อช่วยขับปัสสาวะเมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเมื่อปัสสาวะขัด (ผล, ราก, เมล็ด, ดอก)
19. ในอินเดียใช้ผลกระเจี๊ยบเป็นยารักษาโรคหนองใน (ผล)
20. รากนำมาต้มน้ำเพื่อใช้รักษาโรคซิฟิลิส (Syphilis) (ราก)
21. การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงตับได้ (ผล)
22. ดอกกระเจี๊ยบสามารถนำมาตำใช้พอกรักษาฝีได้ (ดอก)
23. ในเนปาลนำน้ำคั้นจากรากมาใช้เพื่อล้างแผลและแผลพุพอง (ราก)
24. ยางจากผลสดใช้เป็นยารักษาแผลสดเมื่อถูกของมีคมบาด หรือใช้ยางกระเจี๊ยบทาแผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่ทำให้เกิดแผลเป็น (ยางจากผล)
25. ในอินเดียมีการใช้เมล็ดนำมาบดผสมกับนม ใช้ทาผิวหนังเพื่อแก้อาการคัน (เมล็ด)
26. ใบกระเจี๊ยบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาประคบเพื่อลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แตกแห้ง (ใบ)
27. ใช้เป็นยาบำรุงข้อกระดูก โดยมีการเล่ากันว่าชาวชุมชนมุสลิมทางภาคใต้สมัยก่อน จะนิยมกินผักที่เป็นเมือก เช่น ผักกูด และกระเจี๊ยบเขียว เพื่อช่วยเพิ่มไขมันหรือเมือกให้ข้อกระดูก โดยเชื่อว่าจะทำให้หัวเข่าหรือข้อต่อกระดูกมีน้ำเมือกมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บและช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น เสมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง (ผล)
28. ผลกระเจี๊ยบมีเมือกลื่นที่ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก บางคนจึงนิยมนำผลอ่อนมาพอกผิวเมื่อมีอาการแสบร้อน (ผล)
29. การรับประทานกระเจี๊ยบเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์และช่วยเสริมสร้างเม็ดโลหิตแดง เนื่องจากมีโฟเลตสูง โดยฝักแห้ง 40 ฝักจะเทียบเท่ากับปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (ผล)
ภาพ / เรียบเรียงโดย : Postsara
แหล่งอ้างอิง : นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 232 (เดชา ศิริภัทร) และเล่มที่ 347 (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, healthyfoodhouse