สร้างวัดแค่พอพระอยู่ แล้วหันมาสร้างโรงพยาบาล จะดีกว่าไหม

0

สร้างวัดแค่พอพระอยู่ แล้วหันมาสร้างโรงพยาบาล จะดีกว่าไหม

ในวันนี้เราได้มีบทความหนึ่ง เป็นสาระที่ดีสำหรับทุกท่าน ที่สะท้อนถึงสังคมในปัจจุบัน หากคุณได้อ่านบทความนี้แล้ว เราเชื่อได้ว่า ความคิดหลายๆอย่าง จากการทำบุญที่คุณมีอยู่นั้น บางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไป

ท่านเคยคิดหรือมองมุมมุมนี้ไหมครับ

วัดในบ้านเรานั้น เหลือเงินร้อยล้านพันล้าน

แต่โรงพยาบาลของบ้านเรา กลับมีหนี้สินเป็นร้อยล้าน

เข้าโรงพยาบาล อยากได้รับบริการที่ดีๆและฟรี

แต่การเข้าวัด พระไม่สำรวม พระตีกบาล บอกชอบต้องขอบริจาคเงินให้เยอะๆ

หมอรักษาดีจนหาย ลอดอาการป่วยต่างๆที่มีอยู่ รีบกลับไปแก้บนสร้างวัดสร้างพระวิหาร

หมอรักษาไม่ไหว มีชีวิตไม่รอด กับว่าหมอ ว่าพยาบาล

ไม่ไปต่อว่าเทวดาที่บนไว้

เรามาลองคิดใหม่ทำใหม่

สร้างวัดสร้างวิหารแค่พอพระอยู่

แล้วหันมาสร้างโรงพยาบาลที่ดี รักษาคน

มีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย

จะดีกว่าไหม?

เรามาสรุปปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างการสร้าง การสร้างโรงพยาบาล การทำบุญแบบไหนอะไรดีกว่ากัน ?

เรามาถึงยุคที่คนไม่เข้าใจกันเสียแล้ว ว่าการทำบุญบริจาคให้กับวัด ทำเพื่อประโยชน์อะไร ? ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมีวัดหลายแห่งนำศรัทธามาขาย แต่ไม่ผูกโยงไว้ด้วยปัญญา เช่น สอนกันว่าเงินซื้อนิพพานได้ หรือไม่ก็เน้นกันที่เครื่องรางของขลัง พิธีกรรม สิ่งศักสิทธิ์ มีศรัทธาเป็นเหยื่อ แต่ไม่ใช้ปัญญา ทำให้คนเราเริ่มห่างวัดมากขึ้น จนท้ายที่สุด คนเราหลายคนอาจกลายเป็น “คนเกลียดวัด” ไปโดยปริยาย

ผนวกกับแนวคิดแบบสุดโต่งทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่า โรงพยาบาลเป็นสถานที่อันประเสริฐในการช่วยรักษามนุษย์ให้หายขาดจากความ “เจ็บป่วย” จึงให้คุณค่าของโรงพยาบาลดูสูงส่งมากกว่าวัด ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันว่า ทำบุญสร้างโบสถ์สร้างวัด กับทำบุญสร้างโรงพยาบาล อะไรดีกว่ากัน ?

ง่ายนิดเดียวสำหรับคำถามนี้ เราแค่ต้องขบคิดให้แตกฉานเสียก่อนว่า โรงพยาบาลมีความสามารถอะไรที่วัดไม่สามารถกระทำได้ และ วัดมีความสามารถอะไรที่โรงพยาบาลไม่สามารถกระทำได้บ้าง ?

โรงพยาบาลสร้างเพื่อรักษาคนป่วยไข้ทางกายได้ แต่โรงพยาบาลไม่สามารถรักษาแผลทางจิตใจได้ โรงพยาบาลไม่ช่วยให้มนุษย์รู้จักการละ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ซึ่งเช่นเดียวกับวัด ที่ไม่รักษาโรคทางกาย ในเชิงวิทยาศาสตร์แบบที่โรงพยาบาลสามารถทำได้

โรงพยาบาลอาจยื้อชีวิตมนุษย์ให้ยืดยาวออกไป แต่โรงพยาบาลก็ไม่ได้บอกความจริงกับมนุษย์ว่า ร่างกายนี้เป็นของชั่วคราว ถ้าเราไปยึดมันมาเป็นของเราอย่างถาวร เราจะเป็นทุกข์…โรงพยาบาลไม่ได้บอกเราแบบนี้หน้าที่ของโรงพยาบาล คือ ทำยังไงให้ร่างกายนี้ยังคงทำงานต่อไปให้ได้นานและมีประสิทธิภาพที่สุด

วัด รักษา “โรค” ทางกายแบบโรงพยาบาลไม่ได้ แต่วัดช่วยเยียวยา “ความทุกข์” ในใจคนได้ ซึ่งวัด (ที่ดี) จะสอนให้คนไม่ยึดเอาอดีตที่เจ็บปวด มาเป็นธนูดอกที่สอง ซึ่งคอยทิ่มแทงเราก่อนนอนทุกคืน วัดไม่สามารถช่วยให้เราปราศจาก “โรค” แบบโรงพยาบาลได้ แต่วัดช่วยให้เราหมด “ภัย” ด้วยการรู้จักให้ “อภัย” ได้

ซึ่งแตกต่างจากโรงพยาบาลที่ช่วยให้เราหมด “โรค” แต่อาจไม่หมด “ภัย” อีกทั้งวัดยังช่วยให้เราเบิกบานจากการมีสติ ไม่เอาเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคตมาเป็นบ่วงรัดคอตน

ในการทำบุญบริจาคกับวัด การทำบุญบริจาคกับโรงพยาบาล ควรเลือกอย่างไหน?

ตอบ : ควรเลือกทั้ง 2 อย่าง ถ้าเราลองพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วก็จะพบว่า สังคมเราต้องการทั้งโรงพยาบาลและวัด เราต้องการทั้งสถานที่ ๆ เยียวยาทั้ง “ร่างกายและจิตใจ”

พุทธองค์แสดงให้เราเห็นเป็นตัวอย่างโดยการถนอมร่างกายเอาไว้เพื่อทำคุณประโยชน์แก่โลก (พุทธเจ้าจึงไม่ดื่มเหล้า เสพของเมา และละทิ้งการทรมานตน) เราก็ควรจะเอาเยี่ยงอย่าง หากเราเจ็บป่วยก็เข้าโรงพยาบาล มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน

คนเราทุกคนล้วนมีการเกิด แก่ เจ็บ และจากโลกนี้ไป เราทุกคนรักษาร่างกายไปเพื่อหวังว่า ชีวิตยังจะคงมีพรุ่งนี้ เพื่อทำคุณนะประโยชน์ต่อโลกต่อผู้อื่น ได้ทำหน้าที่ที่ยังค้างคาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ หน้าที่ลูก หน้าที่การงาน

ในส่วนของ จิตใจ ที่พึ่งพิงอาศัยอยู่ในกาย ทั้งยังมีอำนาจอยู่เหนือกายด้วย “จิต/ใจ เป็นนาย กายเป็นบ่าว” ถ้ามนุษย์ไม่พึงพัฒนาให้มี จิต/ใจ ที่ดีงาม ปราณีต ชีวิตก็จะมีแต่กายที่เที่ยวทำตามแต่ตัณหา อันมีกิเลสเป็นเหยื่อล่อ โลกก็จะลุกเป็นไฟจากการเบียดเบียนกัน โดยหวังเพียงเพื่อแสวงหาความสุขนอกกายเป็นสำคัญ

ทีนี้บางคนอาจเถียงว่า “ชีวิตฉันไม่ต้องมีวัด จิตใจฉันก็ประเสริฐอยู่แล้ว” ก็ต้องบอกว่า ขออนุโมทนากับท่านที่เกิดพุทธิปัญญาแบบนี้ได้โดยไม่ต้องเข้าวัดหรือไม่ต้องศึกษาพระธรรม แต่อยากจะร้องขอให้ท่านมีความเมตตาต่อสัตว์โลก ที่ยังไม่สามารถก้าวข้ามความทุกข์ไปสู่ทางพ้นทุกข์ได้ แต่ละคนมีสติและปัญญาไม่เท่ากัน ได้โปรดเห็นใจและช่วยเหลือสัตว์โลกที่มีปัญญาไม่เท่าพวกท่านด้วย “ท่านอาจไม่ต้องการวัด แต่คนอื่น ๆ อาจต้องการวัด”

ท้ายที่สุดคงต้องมองดูการบริจาคด้วย ‘สติ’ และ ‘ปัญญา’ โดยคำว่า “บริจาค” มาจากคำว่า ‘ปริจจาคะ’ หมายถึงการเสียสละ แต่ถ้าจะพูดให้แลดูไม่ถูกเอาเปรียบนัก อาจต้องใช้คำว่า “เผื่อแผ่”

เนื้อคู่จะดีไม่น้อย ถ้าเรารู้จักเผื่อแพ้อะไรบางอย่างในชีวิตของเรา เพื่อต่ออายุให้กับผู้อื่นได้ และยังสามารถช่วยเยียวยาความทุกข์ ในใจของผู้อื่นได้ด้วย คุณว่าจริงหรือไม่?

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณนาคินทร์ แซ่เฮ้ง

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here