ขับรถต้องรู้ รถติดไฟแดง ควรเข้าเกียร์ N หรือเกียร์ D กันแน่

0

ขับรถต้องรู้ รถติดไฟแดง ควรเข้าเกียร์ N หรือเกียร์ D กันแน่

การใช้รถใช้ถนน จะต้องรู้ว่าระหว่างช่วงที่เราติดไฟแดงนั้น เราควรเข้าเกียร์ว่าง N หรือเกียร์ D หลายคนกำลังให้ข้อสงสัยและให้ข้อคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก ต่างคนก็ต่างบอกว่าควรที่จะเข้าเกียร์ D มากกว่า บางคนก็เข้าเกียร์ N มาตลอด

ในทุกวันนี้เวลาที่เราขับรถเจอไฟแดงเราเข้าเกียร์ D หรือเกียร์ N ? เรื่องนี้มีการถกเถียงอยู่กันเป็นจำนวนมาก ต่างฝ่ายก็ต่างมีเหตุผล บางคนก็บอกว่าค้างไว้ที่เกียร์ D มันจะสะดวกกว่า บางคนก็บอกว่าสับไปที่เกียร์ D มันจะสะดวกกว่านะ

ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงได้สัมภาษณ์สอบถามผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณ นรพร พรหมบุตร ผู้ช่วยจัดการบริหารในส่วนเทคนิค ของโตโยต้า ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้แล้ว

ในกรณีของรถยนต์ เครื่องยนต์สันดาปล้วน

เริ่มแรกถามว่าควรเข้าเกียร์ D หรือ N นั้นอยากให้ดูตามสถานการณ์ของจราจรเป็นเกณฑ์ ถ้ารถติดเกิน 1 นาทีเป็นต้นไปควรอย่างยิ่งที่จะเข้าเกียร์ N

เพราะหากการเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกทิ้งไว้ ระบบส่งกำลังของเกียร์ (Torque Converters) ก็จะทำงานอยู่ในรอบเดินเบา แล้วเราเหยียบเบรกห้ามไว้ ส่วนเรื่องการสึกหรอนั้นไม่มีข้อมูลที่ยืนยัน แต่หากคิดตามหลักการแล้วอาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก ๆ แต่ที่มีปัญหาแน่นอนและเด่นชัดคือรถคุณจะกินน้ำมันเชื้อเพลงมากกว่าเดิม และไม่ได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาเลย

แต่ทั้งนี้หากรถติดเพียงเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้อง N เสมอไป เพราะคุณจะมาสับเกียร์ทุกครั้งที่เจอไฟแดง จะทำให้กลไกชุดลิ้งค์การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ รวมถึงพวกชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่บริเวณคันเกียร์ มีการใช้งานมากกว่าปกติ และทำให้แรงดันน้ำมันเกียร์เปลี่ยนแปลงบ่อย

รถติดไฟแดง เข้าเกียร์ว่าง หรือเกียร์ D

ในกรณีของรถยนต์ เครื่องยนต์ระบบไฮบริด

เป็นเรื่องควรทำตรงข้ามกลับเครื่องยนต์สันดาปล้วนโดยสิ้นเชิง คือไม่ควรใส่เกียร์ N เพราะว่ากระบวนการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่จะไม่ทำงานเมื่ออยู่เกียร์ N !?! นั้นหมายความว่าหากระบบส่งกำลังของเกียร์ (Torque Converters) แล้วเหยียบเบรกก็จะมีการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือถ้าอยากพักเท้าในการเหยียบเบรกจริง ๆ ให้โยกคันเกียร์ไปที่ P เลยจะดีกว่าเพราะระบบชาร์จไฟจะทำงาน แต่ขอบอกไว้ก่อนว่านี้เป็นระบบของรถยนต์ของ Toyota เท่านั้น

ทั้งนี้ช่วงการจอดรถติดไฟแดงให้ปลอดภัยควรใช้เบรกมือร่วมด้วย เพราะสามารถกันรถไหลหรือหากเกิดอุบัติเหตุก็อาจจะได้รับความเสียหายเพียงท้ายรถอย่างเดียวเพราะรถไม่ถูกดันไปชนอีกต่อ

ส่วนการถนอมเกียร์ให้ใช้งานได้อย่างยืนยาวก็ควรทำการตรวจเช็คหรือเปลี่ยนตามคู่มือการใช้รถของท่านเอง นอกจากนี้วิธีการขับเป็นอีกส่วนสำคัญ อย่างการลากรอบสูงบ่อย ๆ ก็ส่งปัญหาตามมาภายหลังได้

เชื่อว่าข้อมูลทั้งหมดช่วยไขข้อสงสัยให้กระจ่าง ใครที่ขับผิด ๆ ลองมาปรับนิสัยการขับดูเพราะอาจช่วยคุณประหยัดค่าน้ำมันในกระเป๋าลงไปได้พอสมควรทีเดียว

ขอขอบคุณ : นรพร พรหมบุตร

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here