สะพายกระเป๋าน้ำหนักมาก ตัวเตี้ย กระดูกสันหลังคด
เด็กนักเรียนที่สะพายกระเป๋าหนักจนหลังโก่ง ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวทำให้ตัวเตี้ย กระดูกคดงอ ปวดหลัง ปวดคอ และปวดไหล่ได้ ซึ่งมีข้อมูลจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคก่อนหน้านี้ ระบุว่า เด็กในระดับชั้น ป.1 ป.2 และ ป.3 ไม่ควรแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว แต่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษายังใช้กระเป๋าหนักเกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว
นพ.สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่า การสะพายกระเป๋านักเรียนที่น้ำหนักมาก ส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกสันหลังของเด็ก หากสะพายกระเป๋าหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และส่งผลต่อรูปร่างของกระดูกสันหลังในอนาคตอีกด้วย
อาการปวดหลังช่วงวัยเด็ก เมื่อโตขึ้น อาการปวดหลังจะเกิดเรื้อรังได้ หากแบกกระเป๋าที่หนักมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวจะเห็นได้เลยว่าลักษณะของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ความโค้งงอของกระดูกสันหลังจะผิดปกติไป
ไม่เพียงแต่จะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายเท่านั้น ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กด้วย ถึงแม้จะไม่มาก แต่ก็คุณหมอท่านนี้บอกว่า การที่เด็กสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก ๆ เป็นประจำ กล้ามเนื้อทั้งไหล่ ทั้งเอวจะเมื่อยล้า ส่งผลให้สมาธิในการเรียนรู้ของเด็กจะลดลง
ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ ทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
มีข้อเสนอแนะไว้เป็นทางเลือกว่า
1. เด็กควรจัดตารางเรียน นำสมุด หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนไปเพียงที่จำเป็นในเเต่ละวัน
2. เลือกกระเป๋าที่มีฟองน้ำหุ้มสาย เพื่อช่วยลดแรงกระแทก สายสะพายไหล่ควรมีความกว้างกว่า 6 ซ.ม. สายที่เล็กจะทำให้กดทับบริเวณไหล่ ซึ่งอาจกดลึกจนมีผลต่อกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทได้
3. ปรับสายสะพายเพื่อให้กระเป๋าแนบหลัง ไม่ห้อยต่ำ ก้นกระเป๋าต้องไม่อยู่ต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าบั้นเอว และผู้ใช้ต้องเดินตัวตรง ไม่เอนตัวไปข้างหน้า
4. สะพายกระเป๋าต้องใช้สายสะพายไหล่ทั้งสองข้างเพื่อให้น้ำหนักกระจายตัวอย่างสมดุล การสะพายไหล่ข้างเดียวจะมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดต้นคอ ไหล่ และหลังได้
ผู้ปกครองและคุณครู ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมเสียที เพราะไม่เช่นนั้น เด็กในวันนี้อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตามมาในอนาคตได้ นั่นหมายความว่า คุณภาพในการใช้ชีวิตของเด็กอาจด้อยลงตามไปด้วย
วิธีสังเกตอาการผิดปกติของกระดูกสันหลังเด็ก
ให้เด็กถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ให้ยืน แล้วสังเกตุว่า ไหล่ สะโพก ทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกันไหม ดูแนวกระดูสันหลังว่าตคดงอไหม ถ้าผิดปกติ ก็ต้องไปพบแพทย์ครับ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ) กล่าวให้ข้อมูลว่า ถ้าสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก 20% ของน้ำหนักตัวเด็ก จะมีโอกาสเกิดอาการ ปวดคอ ปวดหลัง กระดูกสันหลังคด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้การทำงานของปอดลดลงอีกด้วย
สำหรับคำแนะนำการซื้อกระเป๋าเป้สะพายหลังมีดังนี้ กระเป๋าต้องน้ำหนักเบา ความกว้างกระเป๋าต้องไม่กว้างกว่าไหล่ และความสูงของกระเป๋าเมื่อเด็กนั่งลง ต้องไม่สูงเกินไหล่ ขณะที่สายสะพายไหล่ควรหุ้มเบาะทั้ง 2 เส้น และควรมีความกว้างกว่า 6 ซม. เพื่อกระจายแรงที่กดลงบนไหล่ ที่สำคัญควรคล้องสายสะพายไหล่ทั้ง 2 เส้น อย่าสะพายหรือแบกข้างเดียว และปรับสายสะพายให้กระชับพอดี เพื่อให้กระเป๋าแนบหลังและก้นกระเป๋าอยู่สูงกว่าเอว ถ้ามีสายรัดบริเวณเอวก็ควรใช้ด้วย จะช่วยให้กระเป๋ากระชับกับแผ่นหลัง ไม่แกว่งไปมาขณะเดินหรือวิ่ง
อย่างไรก็ตาม น้ำหนักกระเป๋าไม่ควรเกิน 10-15% ของน้ำหนักตัว หรือหากเด็กสะพายกระเป๋า แล้วเดินโน้มตัวมาข้างหน้า แสดงว่าน้ำหนักกระเป๋ามากเกินไป จึงควรจัดสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่สุด ให้อยู่ชิดบริเวณกลางหลังมากที่สุด และจัดวางให้น้ำหนักกระจายทั่วกระเป๋า ทั้งนี้ภัยใกล้ตัวที่คุณพ่อ-คุณแม่มองข้าม และมักไม่ค่อยสนใจกันเท่าไหร่ กลายเป็นเรื่องเคยชินจนเป็นปัญหาสุขภาพ เพราะหลังเล็กๆ ของเด็กก็มีความหมาย
ขอขอบคุณ : pantip