ครบ 9 อาการคนท้อง ที่บอกให้รู้ว่า นี่แหละ “ตั้งครรภ์”

0

ครบ 9 อาการคนท้อง ที่บอกให้รู้ว่า นี่แหละ “ตั้งครรภ์”

ในวันนี้เรามีความรู้ ในเรื่องของ “การสังเกตอาการตั้งครรภ์” มาฝากเพื่อนๆกัน อาการดังกล่าวนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อตัวคนนั้นกำลังเริ่มตั้งครรภ์ สำหรับคนที่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะยังไม่แสดงอาการให้เห็นโดยชัดเจน แต่จะค่อยๆแสดงอาการเมื่อระยะเวลาตั้งครรภ์เริ่มมากขึ้น

1. ประจำเดือนขาด

ประจำเดือนขาด ถ้าประจำเดือนที่เคยมาเป็นปกติขาดหายไป รอแล้วรอเล่าไม่มาสักที แสดงว่าคุณอาจจะกำลังมีการตั้งครรภ์ เพราะหลังจากการปฏิสนธิแล้ว ประจำเดือนจะขาดหายไป แนะนำให้ไปซื้อเครื่องตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจเถอะ

2. คลื่นไส้ – อาเจียน

เป็นอาการที่พบบ่อยมากจนเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ก็ว่าได้ อาการคลื่นไส้อาเจียนมักเกิดขึ้นหลังจากที่ตัวอ่อนปฏิสนธิได้ 1 เดือน และลดลงเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง แต่นี่ไม่ใช่สูตรสำเร็จ คุณแม่บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องเร็วกว่ากำหนด ขณะที่บางคนโชคดีไม่มีอาการแพ้ท้องเลย หรือไม่ก็โชคร้ายหน่อย แพ้ท้องไปจนถึงเดือนสุดท้ายก่อนคลอดโน่นเลย

3. เหม็นนั่นเหม็นนี่

ผล จากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น สาวๆที่กำลังมีการตั้งครรภ์ อาจทำให้แม่ท้องกลายเป็นคนจมูกไว ได้กลิ่นอะไรก็พานเหม็นจนอยากอาเจียนไปเสียหมด ตอนนี้แหละต่อให้เป็นเนื้อผัดน้ำมันหอยของโปรด ขนุนที่ต้องตุนไว้ในตู้เย็น หรือน้ำหอมที่เคยชอบ ก็อาจไม่น่าพิสมัยอีกต่อไป

4. หน้าอกบวมและเจ็บ

หน้า อกของว่าที่คุณแม่ไตรมาสแรกอาจบวมเพราะมีโลหิตไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้นจน รู้สึกเจ็บแปลบ รวมถึงรู้สึกว่าหน้าอกไวต่อสัมผัสคล้ายกับอาการช่วงก่อนมีประจำเดือน

5. เหนื่อยล้า

รู้สึกเหนื่อยมากๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลยหรือเปล่า รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนตลอดทั้งวันใช่ไหม นี่อาจจะเป็นผล
จากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้นะ แต่ไม่ต้องห่วงหรอก พอเข้าช่วงไตรมาสสอง พลังของคุณก็จะคืนกลับมา

6. โลหิตออกทางช่องคลอด

ช่วง ที่ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ว่าที่คุณแม่บางท่านอาจมีโลหิตไหลออกมาทางช่องคลอด อาการนี้มักเกิดขึ้นในหลังจากตัวอ่อนปฏิสนธิได้11-12 วัน (เวลาเดียวกับที่คุณเริ่มสังเกตว่าประจำเดือนขาด) โลหิตที่ไหลออกมามักเป็นโลหิตจางสีแดงหรือชมพู และจะหยุดไหลภายใน 1-2 วัน อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว และพบว่ามีโลหิตไหลออกมาทางช่องคลอดร่วมกับอาการปวดท้อง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะท้องนอกมดลูกได้

7. ท้องป่อง

ยังๆ อย่าเพิ่งตกใจ คุณยังไม่เป็นแม่ท้องกลมตั้งแต่ไตรมาสแรกหรอก หน้าท้องที่แบนราบแค่ป่องออกมาหน่อยๆ รู้สึกเอวกางเกงตัวเก่งคับขึ้นมานิดๆ เพราะมีก๊าซในกระเพาะมากขึ้นเท่านั้นเอง

8. ปัสสาวะบ่อย

อาการ ปวดปัสสาวะบ่อยเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ เพราะร่างกายจะผลิตโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น ทำให้ไตขับของเสียในรูปของของเหลวมากขึ้นตามไปด้วย

ถ้าประจำเดือนของ คุณมาไม่ปกติอยู่แล้ว หรือลืมสังเกตว่า มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไร อาการทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นตัวช่วยบงชี้ว่า คุณอาจกำลังตั้งครรภ์ ลองไปซื้อเครื่องมือตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจดูก่อน ถ้าผลออกมาเป็นบวก อย่าเพิ่งรีบป่าวประกาศนะ โทรนัดคุณหมอสูติฯ ไปตรวจให้แน่ใจอีกที

9. มีอาการท้องผูก

สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อมีการตั้งครรภ์ ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง มดลูกอาจไปทับลำไส้ใหญ่ การแก้ไขเรื่องท้องผูกในอาการคนท้องลักษณะนี้คือพยายามทานอาหารที่มีกากใยเยอะๆ ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังเบาๆให้พอเหมาะ จะช่วยแก้ไขอาการท้อผูกได้

ควรดูแลตัวเองอย่างเมื่อรู่ว่ามีการตั้งครรภ์ ?

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตัวเอง และที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะในช่วงการตั้งครรภ์นั้นร่างกายจะอ่อนเพลียง่าย และควรลดกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเยอะ นอกจากนั้นควรจะทำการฝากครรภ์และไปพบคุณหมอให้ตรงตามนัดเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

ที่สำคัญยังควรดูแลเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรจะอด หรือควบคุมอาหารในช่วงนี้ และควรจะทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควรเสริมอาหารจำพวกโปรตีน ธาตุเหล็ก และแคลเซียมรวมทั้งกรดโฟลิกให้เพียงพอ ส่วนอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ อย่างเช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานของหวานมากเกินไป และที่สำคัญไม่ควรสูบบุหรี่เป็นอย่างยิ่งค่ะ

ทานอะไรดีเมื่อมีการตั้งครรภ์ ?

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ว่าที่คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนวิธีการกินเพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายและ ท า ร ก ที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ โดยเฉพาะ 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ควรจะรับประทานอาหารดังต่อไปนี้ให้มาก ๆ เลยล่ะค่ะ

– สารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ในช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวในเยื่อบุผนังมดลูก คุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ธัญพืช ฯลฯ เพื่อสร้างฮีโมโกลบินที่จะช่วยนำพาออกซิเจนไปสู่ตัวอ่อน

– กรดโฟลิกและวิตามินรวม เพื่อช่วยให้เซลล์เม็ดโลหิตแดงและเซลล์ของตัวอ่อนแข็งแรง คุณแม่จึงควรได้รับกรดโฟลิก และวิตามินรวมให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ จนถึงปลายสัปดาห์ที่ 12

– กินอาหารที่มีโปรตีนสูง เพราะกรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีนจะช่วยให้ลูกมีเสบียงเพียงพอในการสร้างอวัยวะต่าง ๆ

– ทานให้บ่อยขึ้น โดยเพิ่มอาหารว่างขึ้นอีก 2 – 3 มื้อ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ

– รับประทานอาหารประเภทผัก และธัญพืช หรือถั่วชนิดต่าง ๆ ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณในไฟเบอร์ให้กับร่างกาย

– ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว และดื่มน้ำผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามินให้กับร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้ปั่น เพราะจะไม่ได้รับวิตามินในผลไม้

– ควรรับประทานปลาที่มีไขมันและปลาไร้ไขมันในปริมาณที่เท่าเทียมกันเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ครบถ้วน

– ควรจำกัดการกินอาหารที่มีไขมันและลดปริมาณน้ำมันในการทำอาหาร

– จำกัดการรับประทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธี หรืออาหารหมักดองซึ่งมักจะมีเกลืออยู่มาก และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผงชูรส

– จำกัดการทานของหวานต่าง ๆ และขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของผงปรุงรส

ขอขอบคุณ : sanook

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here