“30 วิธี” เทคนิคฝึกพูดให้ดี พิชิตใจคน

0

“30 วิธี” เทคนิคฝึกพูดให้ดี พิชิตใจคน

“พูดดีเป็นศรีแก่ปาก” ยังเป็นวลีที่ใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย คำพูดแสดงไปถึงหลายสิ่งหลายอย่างของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว หรือแม้แต่พฤติกรรมส่วนบุคคล ก็สามารถอ่านได้จากคำพูดเช่นกัน นอกจากนั้นคำพูดก็ยังมีแง่ดีๆ มากมาย เช่น สามารถพูดให้กำลังใจคนท้อ พูดโน้มน้าวให้คนคล้อยตาม หรือพูดเพื่อกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คน และการพูดก็เป็นวิธีที่ไม่ต้องเสียเงินแต่กลับสร้างผลกระทบได้มากทีเดียวเราลองมาดู “30 วิธีพูดดีได้ใจคน” ศึกษาไว้เป็นประโยชน์แก่ตัวคุณและคนรอบข้าง

วิธีที่ 1 พูดด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน

การคุยโวโอ้อวดย่อมสร้างความเบื่อหน่ายเอือมระอาให้กับผู้อื่น ผู้คนมักไม่ต้อนรับคนที่แสดงท่าทางเย่อหยิ่ง การอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ใช่การลด คุณค่าของตัวเองให้ต่ำลง แต่เป็นสุดยอดวิธีในการแสดงความคิดความรู้สึกของตนเองออกมา

วิธีที่ 2 รู้จักใช้คำพูดที่ยืดหยุ่น

ระวังความพูดไม่ผูกความหวัง คำพูดที่ยืดหยุ่นไม่ผูกมัด ก็คล้ายกับนักแสดงที่แสดงละคร ใช้บ่อยเข้าก็ย่อมจะคล่องไปเอง

วิธีที่ 3 พูดผิดพูดใหม่ให้ทันท่วงที

บางครั้งคนเราก็พูดผิดหรือใช้คำผิดพลาดไปบ้าง แต่สามารถแก้ไขได้ คนเมื่อพูดผิดพลั้งไปแล้ว ก็หาคำพูดที่น่าฟังมาชดเชยได้

วิธีที่ 4 ใช้คำพูดเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร

ความมหัศจรรย์ของคำพูดคือเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร เพียงเรามีคำพูดที่น่าฟัง จะยังมีใครเป็นศัตรูกับเราได้อีก

วิธีที่ 5 รู้จักใช้คำพูดชื่นชมผู้อื่น

คำพูดหวานหูทำให้คนฟังรู้สึกอบอุ่นแม้อากาศจะหนาว คำพูดที่ทำร้ายจิตใจคนแม้จะอยู่ในฤดูร้อนคนฟังก็ยังรู้สึกหวานเหน็บหัวใจ บางครั้งคำพูดดีๆ เพียงประโยคเดียวก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนทั้งชีวิตได้

วิธีที่ 6 พูดแค่สามส่วนก็พอ

พูดจาตรงไปตรงมาก็ดีแต่ไม่ได้หมายความว่าให้พูดจาไม่เหลือทางหนีทีไล่ บางครั้งพูดมากปากอาจมีสี

วิธีที่ 7 รู้จักเอาตัวเองมาล้อเล่น

คำพูดสร้างความบันเทิงและมิตรภาพได้ หากเรารู้จักพูดเรื่องของตัวเองให้เป็นเรื่องตลกให้คนอื่นได้หัวเราะ เพราะการที่เราให้ความสำคัญผู้อื่นหัวเราะเยาะตัวเอง ก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าท่านมองตัวเองกับผู้อื่นอยู่ในระดับเดียวกัน

วิธีที่ 8 ไม่ใช้วาจาแสดงการปฏิเสธผู้อื่น

ใครชอบแสดงท่าทีปฏิเสธไม่รับฟังผู้อื่นอยู่เสมอ ก็จะทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวโกรธหรืออาจทำให้เกิดการปะทะกันทางวาจาหรือใช้กำลังได้

วิธีที่ 9 ไม่ใช้คำพูดกระทบกระเทียบเหยียดหยาม

เรื่องหยุมหยิมเล็กน้อยสร้างปัญหาใหญ่ได้ ควรให้ความใส่ใจโดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้สมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน สุดท้าย ต้องฝึกตนให้รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม

วิธีที่ 10 บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องพูดตรงเกินไป

บางครั้งคนอื่นฟังความจริงไม่ได้ เปรียบเสมือนเรือเดินสมุทรที่สามารถหลบหลีกโขดหินโสโครก จนไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น

วิธีที่ 11 อย่าใช้คำพูดขวานผ่าซาก ทำร้ายจิตใจผู้อื่น

คำพูดตรงไปตรงมาอาจมีด้านดีในเรื่องการแสดงความจริงใจ แต่อีกนัยหนึ่งคือมีดที่แหลมคมทำร้ายจิตใจผู้อื่นแล้วยังทำร้ายจิตใจตัวเอง คำพูดที่นุ่มนวลคือลมพัดในฤดูใบไม้ผลิชะโลมจิตใจ

วิธีที่ 12 ไม่พูดมากพร่ำบ่น

การพูดมาก พร่ำบ่น พิรี้พิไร เป็นโรคทางจิตใจที่รักษายากโรคหนึ่ง นอกจากส่งผลร้ายแรงต่อคนในครอบครัวได้ และยังไม่ดีต่อตัวเอง

วิธีที่ 13 รู้จักใช้ภาษาท่าทาง

การแสดงออกทางอารมณ์จะทำให้ดูผ่อนคลายขึ้นทั้งตัวเองและคู่สนทนา ความคิดที่ปรากฏบนใบหน้าและกริยาท่าทาง มีพลังมากกว่าการแสดงออกทางคำพูด

วิธีที่ 14 พูดคำ “ขอโทษ” ให้เป็น

คนเราบางครั้งก็พลั้งปากพูดผิดพลาดไปบ้าง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อรู้สึกเสียใจก็ต้องขอโทษให้เป็น ที่สำคัญคือทำอย่างไรให้ได้ผลเสียอันเกิดจากการพูดผิดลดลงให้มากที่สุด

วิธีที่ 15 รู้จัก “ติชม” ดีกว่าชมอย่างเดียว

การพูดให้กำลังใจไม่จำเป็นชื่นชมอย่างเดียว บางครั้งบางเวลาในขณะพูดคุยสนทนาถ้าสอดแทรกคำติไปบ้างกลับจะทำให้ผู้อื่นยอมรับได้ง่ายกว่า

วิธีที่ 16 อย่าไปพูดเปิดโปงแผลเก่าของคนอื่น

ไม่ซ้ำเติมหรือย้ำรอยแผลของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมีแต่คนโง่หรือคนบ้าเท่านั้นที่จะไม่โกรธ

วิธีที่ 17 อย่าเอาแต่พูดจากล่าวโทษผู้อื่น

อย่าเอาดีเข้าตัวเอง แล้วผลักภาระความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้ผู้อื่น ตัวเองไม่ผิด คนอื่นผิดเสมอ คนประเภทนี้คือคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์

วิธีที่ 18 จงพูดจาด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์

อารมณ์ทำให้สติเลือนหาย จนคำพูดอาจออกมาด้วยแรงโทสะ เมื่อเราต่อว่าผู้อื่นแล้วเราสบายใจเขาได้แบ่งปันความรู้สึกเช่นนั้นกับเราบ้างหรือเปล่า

วิธีที่ 19 รับฟังคำพูดของผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมจริงใจ

ไม่ควรเอาแต่คุยโวให้ผู้อื่นฟัง ควรสดับรับฟังคำพูดของผู้อื่นอย่างตั้งอกตั้งใจด้วยเช่นกัน

วิธีที่ 20 พูดจากับใคร ต้องรู้จักและเข้าใจคนฟัง

พูดมากเกินไปก็ไม่ใช่ว่าคุณฉลาด พูดน้อยก็ไม่ได้แปลว่าคุณเขลา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า พูดจาก็ต้องดูว่าพูดกับใคร ปรับคำพูดให้พอดี

วิธีที่ 21 อย่าใช้คำพูดทำร้ายคน

คนเราทุกคนต่างรู้จักโกรธ รู้จักไม่พอใจด้วยกันทั้งนั้น เวลาที่มีใครมาพูดอะไรแล้วเรารู้สึกไม่เข้าหูก็ควรทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่จำเป็นต้องไปจริงจังจนเกินไป อะไรที่ไม่เกี่ยวกับเรา ก็ไม่ควรไปตอบโต้

วิธีที่ 22 รู้จักเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสมกับแต่ละคน

ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรขอเพียงบรรลุถึงเป้าหมายภาษาอะไรล้วนเป็นภาษาที่ไพเราะชวนฟัง

วิธีที่ 23 ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ

รู้จักรับฟังให้มาก พูดให้น้อย พยักหน้าและสบตาคนพูดอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป

วิธีที่ 24 กล้าพูดคำว่า “ไม่”

“ไม่” คำ นี้เขียนไม่ยาก แต่ถ้าจะเอามาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแล้ว กลับไม่ง่ายเลยที่จะเอ่ยออกมา มีคนมาก มายที่เป็นเพราะเงื่อนไขทางความสัมพันธ์หรือด้วยอุปนิสัยส่วนตัว หรือเป็นเพราะสถานการณ์บังคับทำให้ไม่อาจเอ่ยคำว่า “ไม่” ออกมาและเป็นเหตุให้ตัวเองได้รับความเสียหายอย่างมาก

วิธีที่ 25 “คำพูดที่ไม่จริง” ต้องพูดด้วยเจตนาดีเท่านั้น

หากจำเป็นต้องโกหกก็ขอให้เป็นในเจตนาที่ดี ไม่ได้มีเจตนาไปทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย คำโกหกให้เกิดขึ้นเฉพาะสถานการณ์บังคับเท่านั้น

วิธีที่ 26 รู้จักหลีกเลี่ยง ไม่พูดในสิ่งที่เขาไม่ชอบ

การหลีกเลี่ยงไม่พูดในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ชอบช่วยให้การคบค้าสมาคมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น พยายามเข้าใจผู้อื่น ให้ความเคารพผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการทำให้
ผู้อื่นไม่สบายใจ

วิธีที่ 27 ยกย่องชมเชยด้วยความใจกว้างและจริงใจ

การยกย่องชมเชยทำ ให้คนยอมรับง่ายกว่าการตำหนิติเตียน ไม่ว่าใครต่างก็ยินดีเมื่อได้รับการยกย่องชื่นชม ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้มงวดกับตัวเองแต่ใจ
กว้างกับผู้อื่นไว้เป็นดี

วิธีที่ 28 กล่าว “ขอบคุณ” ให้ติดปาก

ขอบคุณ สองคำนี้พูดไม่ยาก ทั้งยังมีประโยชน์อย่างมาก ทำให้คว้าจับหัวใจผู้อื่นไว้ได้

วิธีที่ 29 รู้จักใช้คำพูดพลิกแพลง คลี่คลายเหตุการณ์เฉพาะหน้า

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบกับสถานการณ์ที่อึดอัดกลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้วยกันทั้งนั้น เมื่อใดที่บังเอิญเจอสถานการณ์เช่นนี้เข้าก็อย่าเอาแต่มือไม้อ่อนทำอะไรไม่ถูก จงใช้ความสามารถที่มีอยู่มาพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์

วิธีที่ 30 หมั่นยกย่องพูดให้กำลังใจ

การให้กำลังใจที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่เสมอให้ผลดีมากกว่าการให้กำลังที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ

ขอบคุณที่มา : จากหนังสือ 65 วิธีพูดดีดีได้ใจคน โดย ทิภาพร เยี่ยมวัฒนา

แปลและเรียบเรียง : สำนักพิมพ์คุณธรรม

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here