วิธีถนอมผักให้สดใหม่เสมอ ทดลองแล้วได้ผลจริง

0

วิธีถนอมผักให้สดใหม่เสมอ ทดลองแล้วได้ผลจริง

แม่บ้านคนไหนที่มีปัญหาในเรื่องของการเก็บผัก ที่เราซื้อมาจากตลาดนั้นให้อยู่ได้นานๆ ยังคงความสดอยู่ตลอด ในวันนี้เราได้มีสุดยอดเคล็ดลับดีๆมาบอกต่อให้กับแม่บ้านทุกๆคน เพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอนเราก็สามารถเก็บผักให้อยู่ได้นาน นำมาใช้ได้โดยผักไม่เหี่ยวไม่เฉา ตัวช่วยของเรานั้นคือขวดพลาสติกนั่นเอง

ต้นหอม ผักชี ให้เรานำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาใส่ในขวดพลาสติกของเราที่เราเตรียมไว้ โดยไม่ต้องตัดรากออก เพื่อเป็นการให้ผักดูดน้ำที่ค้างไว้ ผักจะยังมีความสดใหม่เก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 1 สัปดาห์

กระชาย มะนาว ตะไคร้ ล้างน้ำให้สะอาดและนำไปใส่ในขวดพลาสติก แนะนำให้ใส่ขวด 1 ต่อ 1 อย่างเท่านั้น อย่าใส่รวมกันอยู่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์

ความรู้เพิ่มเติม

ก่อนจะเก็บผักต้องรู้เรื่องนี้ก่อน

1. เราไม่ควรเก็บผักไว้รวมกัน เพราะจะทำให้เสียได้ง่ายขึ้น

2. ในการเก็บผักด้วยวิธีการแช่น้ำนั้นไม่ควรแช่ผักลงในน้ำไปทางต้น เพราะจะทำให้คุณประโยชน์ที่อยู่ในผักนั้นละลายน้ำเน่าเสียไป

3. การเก็บผักเล็กๆน้อยๆที่เรามักใช้ในครัว หากเราจะเก็บไว้ในตู้เย็น ควรล้างผักให้สะอาดเสร็จก่อน เพราะในบางทีพักที่เราซื้อมาจากตลาดนั้นมักไม่ค่อยสะอาด อีกทั้งยังมีสารต่างๆที่จะเป็นโทษต่อสุขภาพร่างกายของเราได้

วิธีลดสารในผักก่อนเก็บ

1. ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่ผักนาน 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง จะสามารถลดสารตกค้างได้ร้อยละ 90-95 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก

2. ใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดความเข้มข้นร้อยละ 5 ผสมในอัตราส่วน 1:10 เช่น น้ำส้มสายชุ 1 ถ้วยตวง ต้องใช้น้ำ 10 ถ้วยตวง นำไปแช่ผัก 10-15 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด สามารถลดสารเคมีได้ร้อยละ 60-84 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก

3. ใช้น้ำล้างผักปล่อยให้ไหลผ่านผัก โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่ง แล้วใช้มือช่วยคลี่ใบผักล้างนาน 2 นาที สามารถลดสารเคมีได้ร้อยละ 25-63 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก

4 วิธีเก็บผักให้สด อยู่ได้นาน

1. การเก็บรักษาผักสดให้คงอยู่ในสภาพที่ดี และอยู่ได้นานที่สุดนั้นต้องเก็บให้เหมาะสมกับชนิดของผักนั้นๆ โดยจะต้องแบ่งผักออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน

กลุ่มผักที่เน่าเสียง่าย เช่น เห็ด ผักชี ผักกาดหอม ถั่วงอก ถั่งฝักยาว ผักบุ้ง ชะอม กลุ่มผักที่เก็บได้ในระยะเวลาจำกัด เช่น ผักกาด ผักคะน้า มะเขือเทศ และกลุ่มผักที่เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นๆ เช่น ฟัก แฟง เผือก มัน ฟักทอง เป็นต้น ผักเหล่านี้แม้จะเก็บในตู้เย็นก็ยืดเวลาได้ไม่นานนัก แต่การเก็บที่ดีที่สุดคือใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง จะช่วยเก็บไว้ได้นานขึ้น 5-7 วัน

2. การเก็บผักนั้นควรแยกเก็บตามชนิดของผัก ไม่ควรเก็บผักและผลไม้ให้อยู่ด้วยกัน เพราะทำให้เกิดการเน่าหรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรเก็บผักแต่ละชนิดโดยแยกกันเป็นสัดส่วน การเก็บผักนั้นไม่ควรล้างก่อนเก็บ ควรจะล้างเมื่อจะนำมาประกอบอาหารเท่านั้น ประเภทผักใบ ถั่วลันเตา ถั่วแขก เหล่านี้ควรแยกใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 45 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยให้คงความสดอยู่ได้นานขึ้น

3. ผักหัวประเภทแครอท หัวผักกาด หัวบีท เผือก ให้ตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิฉะนั้นความหวานในหัวจะลดลง ส่วนผักที่มีเปลือกหนา เช่น ฟักทอง ฟัก แฟง มันฝรั่ง เผือก เก็บโดยไม่ต้องล้างเช่นเดียวกัน โดยวางไว้ในที่เย็นๆ อากาศถ่ายเทได้ และอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 55-65 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยให้เก็บไว้ได้นานขึ้น

4. ไม่ควรแช่ผักกับผลไม้ไว้ด้วยกัน เพราะผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอธิลีนออกมา ทำให้ผักที่ว่างอยู่ใกล้ๆ เสียเร็ว ทางที่ดีควรเก็บผักและผลไม้แยกถุง หรือแยกชั้นกัน ยิ่งแช่ห่างกันมากเท่าไรผักและผลไม้ก็จะช่วยยืดอายุได้นานขึ้น

เมื่อรู้ถึงเคล็ดลับที่มากมายขนาดนี้แล้ว ลองนำไปใช้กันดูนะคะ เพราะนอกจากจะช่วยให้ผักของเราสดใหม่ ยังเป็นการคงคุณประโยชน์ของผัก เมื่อเราทานจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : 101householdtips , sanook

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here