ทำไมต้องพอเพียง? บทความสะท้อนสังคม เปิดมุมมองใหม่ๆ ของการใช้ชีวิต
แนวคิดในพระราชดำริของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ยังคงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้ได้เสมอ แม้ในยุคที่เกิดภาวะปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในยุคปัจจุบัน หลายครอบครัวสามารถปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต และเข้าถึงสัจธรรมที่แท้จริงแห่งชีวิตมากขึ้น หากไม่หลงมัวเมาไปกับกระแสโลกาภิวัฒน์ แล้วลองมองว่ารอบข้างเรามีอะไรอยู่ เราก็จะหาความสุขจากสิ่งที่มีได้
ด้วยยุคสมัยและเทคโลโลยีที่ก้าวหน้า วิถีชีวิตแบบคนรุ่นใหม่ได้ ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิม ทั้งหมดล้วนทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ ดังนั้นหากยึดตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนหน้าดังที่เห็น
ทำไมต้อง “พอเพียง” ซึ่งบางครั้งผู้เขียน ก็นึกอยู่ในใจว่าคำถามนี้เราไม่จำเป็นต้องถามใครเลย ในเมื่อส่วนลึกของทุกคนก็น่าจะทราบความหมาย แต่อาจจะถูกอีโก้หรืออัตตาบดบังทำให้หลงลืมกันไป
คนส่วนใหญ่มักตั้งคำถามว่า ความพอเพียงคืออะไร ง่ายมาก ความพอเพียงคือ การรู้จักพอ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี พอใจในสิ่งที่ตนเองสร้าง เเละอยู่ได้ด้วยการสร้างของตนเอง อยู่ด้วยลำเเข้งตนเอง
โดยไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น หากเศรษฐกิจไม่ดีเราก็สามารถที่จะยืนด้วยขาเราโดยที่เราไม่ล้ม
เราสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หลักการเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเเท้เเน่นอน หากเรารู้จักพิจารณาชีวิตตามหลักความเป็นจริงได้ว่า สิ่งสำคัญที่สุด
มองดูให้ดีว่าความสุขที่แท้จริงของชีวิตที่ทุกคนใฝ่หาคืออะไร ข้าพเจ้าเชื่อว่าความคิดของหลายๆ คนนั้นความสุขที่ต้องการมากที่สุดคือความสงบ มิใช่อย่างอื่น
เงินทองเป็นของนอกกาย เป็นถ้าให้ระบุความสำคัญก็คงเป็นอันดับต้นๆ เเต่นั่นก็ไม่ใช่ความต้องการขั้นสูงสุดใช่หรือไม่ ข้าพเจ้าอยากถามทุกคนว่า ณ ตอนนี้ที่เรากำลังทุ่มเเรงไปนั้นก็เพื่อเงิน
เเต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งเงินมีค่ามากไม่พอ เนื่องจากว่าอาหารเเพงมากเกินไปจนเงินหมดค่า จะทำอย่างไร คนที่รู้จักการเตรียมพร้อมเท่านั้นเเหละที่จะอยู่ได้
ข้าพคิดว่านิสัยของคนบ้านเราเเปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ มักจะเห่อและไขว่คว้าสิ่งที่เข้ามาใหม่อยู่ร่ำไป ใช่อยู่ว่าการขวนขวายเป็นสิ่งดี
เเต่สิ่งที่คนบ้านเรามักหลงลืมก็คือ การพิจารณาถึงผลเสียที่จะตามมา เช่น ยางราคาเเพง ก็พากันตัดพืชเก่าๆ ตัดบ่อเงินเก่าๆ ของตนเองทิ้ง เพื่อถางที่เคลียร์ดิน เคยปลูก ผัก ผลไม้ ก็ตัดทิ้งหมด เพื่อเปลี่ยนไปปลูกยางพาราที่กำลังเป็นกระแส
โดยไม่คิดว่า ถ้าหากวันใดวันหนึ่งยางพารา ไร้ค่าขึ้นมา จะเอาอะไรกินกัน การปลูกพืชมันใช้เวลาในการออกผล หากวันนั้นมันไร้ค่าไปแล้ว จะเอาอะไรกินกัน
ที่น่าวิตกคือเมืองบ้านเราเคยเป็นเมืองผลไม้ ที่เคยทำนาปลูกข้าว ตอนนี้โดนต่างชาติตีเสมอ และพากันเปลี่ยนไปปลูกยางกันหมด เเล้วถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา จะพากันทำอย่างไร
ยิ่งสมัยนี้มีห้างสรรพสินค้นเกิดขึ้นเต็มไปหมด คนสมัยใหม่ก็มักจะเลือกทำงานสบาย ทิ้งงานไร่สวนไปทำเเต่งานในห้องเเอร์ ถามหน่อยเถอะห้างเอาอะไรมาผลิต เอาอะไรมาขาย ผลิตภัณฑ์การเกษตรทั้งสิ้น
เรากลับยอมสละทรัพยากรที่มี ทิ้งความสงบเพื่อไปเเสวงหาเเต่เงิน ที่ได้มาเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ ยิ่งการแข่งขันสูง ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งมากขึ้น เมื่อก่อนคนบ้านเราเคยอยู่ได้มีเงินไม่มากก็อยู่กันได้เเต่ตอนนี้มันไม่ได้เเล้ว
เมืองบ้านเราเป็นเมืองเกษตรกรรม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เเต่ตอนนี้ทุกคนกลับละทิ้งการผลิตทรัพยากรกันหมด ต่อไปอาหารคงเเพง เพราะเกษตรกรเราน้อยลง คงต้องนำเข้าพืชผลจากต่างชาติ
เด็กสมัยนี้ยิ่งความอดทนต่ำ เพราะใช้ชีวิตอยู่เเต่ในเมือง ไม่คุ้นชินกับชีวิตชนบท หากเมื่อไรเกิดปัญหาขึ้นมา ความลำบากอาจจะกลืนกินพวกเขา
เพราะพวกเขาไม่เคยต้องใช้แรง เกิดมามีแต่ความสบาย ข้าพเจ้าคิดถึงธรรมชาติเมื่อก่อน อากาศบริสุทธิ์ ทุกคนต่างต้องการ
เเต่คนสมัยนี้ก็ขาดความสะดวกไม่ได้ ผู้ประกอบการมากหน้าหลายตาก็มุ่งหวังเเต่ผลกำไร
ยุคนี้โค่นต้นไม้ทิ้งเป็นว่าเล่น จากที่เคยปลูกพืช หรือใช้ทำมาหากิน ตอนนี้เห็นเเต่พื้นซีเมนต์เต็มไปหมด
ตึกราบ้านช่องก็งอกขึ้นมาเเทนต้นไม้ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะรู้จักพอ
หรือจะรอให้มันหมดไปเสียก่อน ถึงจะรู้ตัวว่าต้องรู้จักคำว่า “พอเพียง”
เป็นบทความที่ทรงคุณค่ามาก สะท้อนหลายๆ มุมมองในชีวิต บางสิ่งเราก็หลงลืมไปว่ามันมีอยู่ บางครั้งเราปล่อยสิ่งที่ดีงามหลุดมือไปเหลือไว้แต่สิ่งที่อาจให้ความสะดวกทางกายแต่ไม่สามารถเยียวยาจิตใจของเราได้ ความสุขของคนเราจะมีอะไรมากไปกว่าการดำรงชีวิตได้อย่างไม่มีความทุกข์
ขอบคุณที่มา : khaonaroo
เรียบเรียงโดย : Postsara