สะพาน “ยกน้ำข้ามถนน” แก้ปัญหาน้ำท่วม โครงการในพระราชดำริ

0

สะพาน “ยกน้ำข้ามถนน” แก้ปัญหาน้ำท่วม โครงการในพระราชดำริ

ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก ล่าสุดมีกระแสในโลกโซเชียล ซึ่งมีการเผยแพร่สะพานน้ำ จนเกิดการวิเคราะห์วิพากย์วิจารณ์ไปทั่วว่าสะพานน้ำแห่งนั้นเป็นของจริงหรือไม่ และสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใด จนในที่สุดก็มีข้อมูลเปิดเผยถึงที่มาที่ไปของสะพานน้ำแห่งนั้นว่าสะพานน้ำแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อแกปัญหาน้ำท่วมรวมไปถึงการจราจรในชานเมืองฝั่งตะวันออก เป็นหนึ่งในโครงที่เกิดจากแนวทางพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

สะพานน้ำยกระดับ เกิดขึ้นได้จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สร้างขึ้นเมื่อปี 2546 ในขณะนั้นเป็นสะพานที่มีความยาวมากที่สุดแห่งแรกของประเทศบ้านเรา ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการจราจร เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ บางจุดเป็นแอ่งกระทะ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ง่าย รวมไปถึงการขยายตัวเมือง ทำให้การระบายน้ำออกสู่อ่าวไท ยทำได้ลำบากขึ้น มีพื้นที่ในการรับน้ำลดลง ทางเดินน้ำเกิดการติดขัด

หลังจากนั้น 2 ปี ในปี 2548 ถึงได้มีการเริ่มก่อสร้างสะพานขึ้น โดยรัฐบาลประกาศจัดตั้งโครงการระบายน้ำบริเวณสุวรรณภูมิ สะพานน้ำยกระดับมีลักษณะคล้ายคลองระบายน้ำ สร้างให้ยกพื้นสูงจาดถนนสุขุมวิท 6 เมตร ความยาวกว่า 10 กิโลเมตร และวกเป็นรูปตัวยูข้ามชายทะเลยและถนนสุขุมวิท เสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2553

โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ

1. เป็นประโยชน์ในระบายน้ำสายหลักของพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน โดยการเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเลและสูบระบายออกสู่ทะเลโดยตรง ทำให้สามารถลดสภาวะน้ำท่วมและความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิผล

2. เพื่อสามารถติดตามสภาพน้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูบน้ำในการบริหารจัดการน้ำหลาก ทั้งระบบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง

3. เพื่อเป็นถนนเชื่อมโยงถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ และถนนบางนา-ตราด ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาการจราจรของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมาก และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการ

4. เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้บางส่วน สำหรับทำการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นบริเวณใกล้เคียง

5. เพื่อช่วยเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและระบบนิเวศของจังหวัดสมุทรปราการ

สะพานน้ำยกระดับ มีการควบคุมการทำงาน ดังนี้ ประกอบด้วย อาคารสะพานน้ำยกระดับและอาคารทิ้งน้ำเป็นอาคารรับน้ำจากสถานีสูบน้ำ กระแสน้ำจะไหลไปตามสะพานน้ำยกระดับในอัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ไหลลงสู่ทะเลโดยตรง ตัวอาคารสร้างโดยคอนกรีตเสริมเหล็กยกระดับเป็นรูปตัวยู ท้องคลองกว้าง 25 เมตร กำแพงสูงข้างละ 3.15 เมตร สูงจากถนนสุขุมวิทประมาณ 6 เมตร

ผลจากการใช้งาน เกิดประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จด้วยดี สามารถช่วยระบายน้ำจากคลองสำโรงได้สูงสุด 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเครื่องสูบระบายน้ำ 4 เครื่อง ผลักดันลงสู่ทะเล โดยเฉพาะในช่วงอุทกภัยปี 2554 โครงการนับว่าเป็นจุดสำคัญที่ช่วยระบายน้ำได้มากถึง 560 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากว่าครึ่งหนึ่งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

1. ลดพื้นที่น้ำท่วมลง 140 ตารางกิโลเมตร และช่วยลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาน้ำหลากและอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จาก 10 วันเหลือ 2 วัน โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำฝนสูงสุดในรอบ 25 ปี ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533

2. มีการสร้างถนนคันคลอง และสะพานสำหรับรถยนต์เชื่อมจากถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ไปจนถึงบางนาตราดจำนวน 2 ช่องจราจร เพื่อเตรียมไว้รองรับการขยายถนน เป็น 4 ช่องจราจรในอนาคต ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณพื้นที่โครงการและจังหวัดสมุทรปราการ

3. เป็นแหล่งน้ำจืดสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อการเกษตรกรรมประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. การบริหารจัดการน้ำหลากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไท ยได้รวดเร็วขึ้นแล้ว ในปัจจุบันยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือทางการเกษตร ใช้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำสำหรับเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญสะพานน้ำยกระดับได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

ขอบคุณที่มา : Richard Barrow

เรียบเรียงโดย : Postsara

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here