เหมือนเส้นผมบังภูเขา มาแล้วครับวิธีเพาะ แค่ใช้น้ำเปล่าตากแดด

0

เหมือนเส้นผมบังภูเขา มาแล้วครับวิธีเพาะ แค่ใช้น้ำเปล่าตากแดด

เป็นจุดใต้ตำตอ สำหรับ การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แท้ที่จริงแล้วนั้นใช้วิธีการเดียวกับการขยายเชื้อ แต่ไม่จำเป็นต้องใส่หัวเชื้อลงไป เพียงแค่ใช้น้ำเปล่าตากแดด ใส่วัตถุดิบเหมือนเช่นเคย

สูตร…ไข่ไก่สดหรือไข่ที่เสีย

ไข่ไก่+น้ำปลา

ไข่ไก่+ผงปรุงรส(รสดี)

ไข่ไก่+ผงชูรส

ไข่ไก่+กะปิ

ไข่ไก่+น้ำปลาร้า

สูตร…ซุปไก่

ซุปไก่+น้ำปลา

ซุปไก่+ผงปรุงรส

ซุปไก่+ผงชูรส และอื่นเหมือนไข่สด

“เหมือนเส้นผมบังภูเขา”

แต่ก็ไม่มีใครยอมบอกเรา ทำให้เกษตรกรทั้งหลายต้องไปหาซื้อ หัวเชื้อ เพื่อมาขยาย ซึ่งราคาก็แสนแพง บางที่ตกลิตรละ 100 ถึง 150 บาท

(ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคำว่า ผลประโยชน์ ของคนบางกลุ่มบางประเภทเท่านั้น)

หรือเขาอาจจะไม่รู้จริงๆ เพราะจุลินทรีย์จากเมืองนอกบางที่ ที่เขาได้นำเข้ามา ก็ไม่ได้บอกและ สอนวิธีเพาะเชื้อให้ เขาสอนแต่วิธีขยายมา

แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อเรารู้แล้ว ต่อไปเราก็ ไม่จำเป็น ต้องไปหาซื้อหัวเชื้อจากที่ไหนมาขยาย เพียงแค่เรามีไข่ กับน้ำเปล่า เราก็สามารถที่จะเพาะหัวเชื้อขึ้นมาได้เอง เพียงแค่ใช้เวลานานกว่าหน่อยเท่านั่น

“ตามภาพครับ” ผมใช้ไข่ไก่ 6 ฟองกับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ ปั่นรวมกันทั้งเปลือก..(เวลาเทออกพยายามเทเปลือกไข่ออกมาให้หมด)…สัดส่วนเพิ่มลดได้ตามปริมาณที่เราอยากทำ…

เอาไปเทใส่ขวดน้ำที่ใส่ขวดตากแดดเตรียมไว้แล้ว…

ปั่น

วิธีผสม

ผมใช้ไข่ที่ปั่นแล้ว 1 ช้อนโต๊ะ(พยายามตักให้ติดเปลือกไข่ทุกช้อน) ผสมกับน้ำที่เตรียมไว้ 1.5 ถึง 2 ลิตร…(ง่ายๆ คือ ขวดน้ำ 6 ลิตร ผมใส่ไป 3 ช้อนโต๊ะ)…เขย่าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท

ตั้งตากแดดไว้ที่เดิม เขย่าวันละ 1-2 ครั้ง

ประมาณ 2 อาทิตย์จะเริ่มแดง พอครบ 1 เดือน ก็จะแดงเกือบทุกขวด (สีอาจจะแดงเข้มหรืออ่อน)

“ถ้าอยากให้สีสวยเสมอกัน ก็เอามาแลกน้ำกัน”

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSB

1. ช่วยย่อยสลายของ เสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า( ไฮโดรเย่นซัลไฟต์ ) โดยที่จุลินทรีย์จะเข้าไปทำลายพันธะทางเคมี โดยการกำจัด ก๊าซไฮโดรเย่น ซึ่งเป็นพันธะทางเคมีหลักของก๊าซไข่เน่า ( H2S ) โดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ และระหว่างกระบวนการที่กล่าวมานั้นจุลินทรีย์ได้ ขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่ม โกสฮอร์โมน ที่มีรายละเอียดเบื้องต้น

2. ช่วย ลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก โดยเข้าไปทำลายพันธะเคมีของกลุ่มก๊าซมีเธน ( CH4 ) โดยการย่อยสลายก๊าซไฮโดรเย่น จึงทำให้โครงสร้างเสียไป เหลือแต่คาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ซึ่งแปลงนาโดยทั่วไปย่อมมีกลุ่มก๊าซของเสียอยู่แล้ว

3. ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง

4. ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดีทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก
จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก

5. สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟตได้ โดยใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืชได้

6. เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆลงได้ สูงสุด 50 % ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงกำไรเพิ่มมากขึ้น

7. หากมีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลิตดีขึ้นตามด้วย

8. ช่วย ในการบำบัดน้ำเสีย ได้ทั้งกับ น้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อ รางน้ำ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือ กับน้ำเสียที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิต เช่น โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โรงงานฟอกย้อมผ้า โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เป็นต้น

การใช้งานด้านเกษตร

นาข้าว ใช้ 1 ลิตร ต่อ ไร่ สาดให้ทั่วไร่

สวน 50 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดลงดินขณะเตรียมปลูก หรือฉีดทางลำต้นและรากทุกๆ 7-10 วัน

แปลงผักและดอกไม้ ใช้ 20 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลำต้นและรากทุกๆ 5-7 วัน

ช่วยเร่งให้พืชออกดอก เช่น มะนาว มะเขือเทศ ส้ม มะม่วง มังคุด เป็นต้น

ด้านประมง

1. การเตรียมบ่อ ใช้จุลิทรีย์ 10 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ

2. ระหว่างการเลี้ยง ใช้จุลินทรีย์ 5 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ สัปดาห์ละครั้ง

เลี้ยงปลาสวยงาม

1. ตู้ปลาใหม่ 1 CC ต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 1 CC ทุกๆ 7 วัน

2.ตู้ปลาเก่า 2 CC ต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 1 CC ทุกๆ 7 วัน

3.บ่อปลาขนาดใหญ่ ใช้ 100 CC ต่อน้ำ 1 ตัน ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 100 CC ทุกๆ 7 วัน

การใช้กับฟาร์มปลา

1. ช่วยเพิ่มอัตราการเก็บเกี่ยวและอัตราการรอด

2. ทำให้เนื้อปลามีคุณภาพดีขึ้น

3. ทำให้ปลามีความแข็งแรงขึ้น

4. ช่วยป้องกันโรค เช่น Bacillus และ mildew

5. ช่วยย่อยอึ้ปลาได้ดี

6. ทำให้น้ำมีความสะอาด

ด้านบำบัดน้ำเสีย

น้ำเสียในครัวเรือน ใช้ 1 ลิตร ต่อน้ำ 1000 ลิตร

สำหรับวิธีการเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนี้ ค้นพบเองได้โดยบังเอิญและเห็นว่าวิธีนี้จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆทุกคน เพราะยังช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนในการทำการเกษตร จึงได้นำมาเผยแพร่ เห็นว่ามีประโยชน์จึงอยากจะแชร์บอกต่อเพื่อนๆ อย่าลืมที่จะเก็บเอาไว้ เผื่อวันไหนหาไม่เจอ

เรียบเรียงโดย : Postsara

ขอขอบคุณ : นาย ทวีศักดิ์ พันธุ์โภคา

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here