สูตรฟื้นฟูบำรุง ข้อเข่า กระดูกอ่อนหัวเข่า ด้วยตะไคร้ + แอปเปิลเขียว
สำหรับใครที่เป็นโรคปวดเข่า ด้วยอายุที่มากขึ้น อาการเหล่านี้สารพัดที่จะรุมเร้าเข้ามา หลายคนอาจเคยเจอกับปัญหาการปวดเข่า สาเหตุอาการเหล่านั้นเกิดจากบริเวณข้อเข่าที่เป็นข้อต่อนั้นแบกรับน้ำหนักเป็นจำนวนมาก
เพื่อใช้ในกิจกรรมที่สำคัญของมนุษย์โดยเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตลอดเวลาเกิดจากกิจกกรรมที่มี การยืน เดิน วิ่ง และการเล่นกีฬา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่างอพับเข่า เช่นนั่งสมาธินั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยองๆจึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็วอาการปวดเข่าจึงเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งนอกจากอาการปวดแล้วยังบั่นทอนสมรรถภาพการทำงานอย่างมาก
วันนี้เรานำเสนอวิธีแก้ โดยไม่ต้องง้อยา! โดยทำแบบนี้ทุกๆวันแล้วจะดีขึ้น!
ส่วนประกอบที่ใช้
1. ตะไคร้ 5 ต้น!
2. แอปเปิลเขียว 2 ลูก โดยหั่นเรียบร้อยแล้วทั้งหมด
วิธีทำ
1. เติมน้ำลงไปให้ท่วมวัตถุดิบที่เตรียมในหม้อ
2. ใช้ไฟอ่อนๆต้มจนแอปเปิลเขียวนิ่ม
3. ต้มเสร็จแล้วนำมาดื่มให้หมด โดยห้ามเติมอย่างอื่นลงไป
วิธีดื่ม
ดื่มทุกวัน วันละครั้ง จะช่วยบำรุงฟื้นฟูสภาพของกระดูกอ่อนที่หัวเข่า อาการเจ็บแปล๊บๆ ที่หัวเข่า ก็จะหายไปโดยไม่ต้องกินยาหรือฉีดยา เป็นวิธีการบำรุงด้วยธรรมชาติ
ประโยชน์แอปเปิลเขียว
1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
2.ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้
3.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ
4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล
5.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
6.ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการป่วย
7.ช่วยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ
ประโยชน์ตะไคร้
นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
1. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
2. มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
3. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
4. สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
5. ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
6. มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
7. การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ จะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี
8. นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง ๆ
9. ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี
10. กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี
11. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม
12. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
13. มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ
ขอขอบคุณ : es.toluna