ลองเช็กแล้วได้เยอะเหมือนกัน ดูว่ามีเท่าไหร่แล้ว วิธีเช็กยอดเงินประกันสังคม

0

ลองเช็กแล้วได้เยอะเหมือนกัน ดูว่ามีเท่าไหร่แล้ว วิธีเช็กยอดเงินประกันสังคม

เพื่อนๆเคยได้ลองเข้าไปเช็คสิทธิ์ประกันสังคมกันบ้างหรือยัง ในวันนี้เราได้นำข้อมูลดีๆเกี่ยวกับวิธีการเช็คยอดเงินประกันสังคม ลองทำตามดูได้เลยง่ายๆ คนอายุมากก็สามารถทำได้ด้วยตนเองเช่นกัน Admin ลองทำของคนที่บ้านดูแล้วง่ายมาก ใครสงสัยอะไรก็ Comment ไว้ได้เลย แล้วจะมีเพื่อนๆคอยช่วยกันตอบ

อ่านให้เข้าใจก่อนนะ ย้ำว่าทุกบรรทัด

1. เข้าไปที่ https://www.sso.go.th หลังจากนั้นให้เข้าสู่ระบบ โดยกดปุ่ม ‘เข้าสู่ระบบ‘

2. จะขึ้นให้กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน หรือถ้าใครเพิ่งเคยเข้ามาที่เว็บนี้ ก็ให้ทำการสมัครสมาชิก ซึ่งตรงนี้ต้องกรอกเบอร์โทรศัพท์เพื่อรับรหัสยืนยันตัวตนให้เรียบร้อย

2. เมื่อเข้าระบบตัวเองได้แล้ว ให้มองหาเมนูที่เขียนเอาไว้ว่า ‘ผู้ประกันตน‘ ส่วนนี้สามารถดูข้อมูลต่างๆ ของเธอเองได้

3. ในส่วนของเงินสะสมในประกันสังคม ให้เลือกคำว่า ‘ข้อมูลการส่งเงินสมทบ‘

4. โดยเมื่อเปิดเข้าไปจะเป็นประวัติการส่งเงินของเราในแต่ละเดือน โดยจะถูกแบ่งออกเป็นเปอร์เซ็นต์ 3 ส่วน คือเจ็บป่วย ชราภาพ ว่างงาน ซึ่งในส่วนของเงินชราภาพนั้น ยังสามารถรู้ได้ด้วยว่าถ้าแก่แล้วต้องออกจากงาน จะได้เงินเท่าไหร่ ด้วยการเลือกคำว่า ‘การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ’ แอบไปส่องแล้ววางแผนชีวิตได้เลยล่ะ

จากวิธีที่กล่าวมา จะเห็นว่าตรวจสอบได้ไม่ยาก โดยในส่วนของเงินชราภาพนั้น เราสามารถทำเรื่องขอรับได้ก็ต่อเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป ภายในระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่พ้นสภาพการทำงาน ถ้าไม่ไปติดต่อระวังเงินนั้นจะโดนย้ายไปเป็นของกองกลางแทนนะ

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน (กรณีว่างงาน)

เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้

1. กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

3. ในกรณียื่นคำขอรับเงินทดแทน

กรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

สถานที่ยื่นเรื่อง

1. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (เว็บไซต์ www.empui.doc.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน

2. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

หมายเหตุ : ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 2 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

เรียบเรียงโดย : Postsara

ขอขอบคุณ : สำนักงานประกันสังคม

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here