ในระยะ 3 ปีข้างหน้า “คน 5 ประเภท” จะอยู่ยากในสังคม

0

ในระยะ 3 ปีข้างหน้า “คน 5 ประเภท” จะอยู่ยากในสังคม

ได้มีอาจารย์ท่านหนึ่งชื่อ Li Kaifu ท่านเคยพูดไว้ว่า “ในอีก 10 ปีข้างหน้า งานมากกว่า 50% ของมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วยระบบ AI” หรือความหมายอีกอย่างหนึ่งที่พูดอย่างง่ายๆก็คือ “ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้มนุษย์ 50% จะตกงานไม่มีงานทำ”

สังคมเราของทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วบางทีอาจจะไม่ถึง 10 ปีก็ได้ จำนวนคนไม่ตกงานอย่างต่อเนื่องเพราะอย่างที่เรารู้จักกันดี ในยุคปัจจุบันนี้การทำงานบางทีไม่ต้องพึ่งพาคนก็สามารถหาเงินสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี หากคุณเผลอไปเหยียบกับ 5 ข้ออันนี้เข้า อย่าไปเสียเวลากับมัน เพื่อลดความเสี่ยงของตัวคุณเอง

ประเภทที่ 1 : คนที่ไม่เข้าใจการลงทุนในตัวเอง

เวลาที่เราโทรกลับบ้านสิ่งหนึ่งที่แม่มักจะเตือนอยู่เป็นประจำคือ “อย่าใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย”

แต่ถ้าหากว่าประหยัดเงิน 1 ปีเก็บเงินได้ 1 แสน 10 ปีเก็บเงินได้ 1 ล้าน นี่คือเก่งหรอ?

ไม่ใช่! เพราะเมื่อคุณใช้เวลา 10 ปีถึงจะเก็บเงินได้ 1 ล้าน คนอื่นอาจจะใช้เวลาแค่ปีเดียว

ในตอนที่คุณอายุยังน้อยๆนั้นคุณจะต้องรู้จักว่าจะทำการลงทุนกับตัวเองอย่างไร

โดยวิธีใดเงินนั้นไร้ชีวิต แค่คนมีชีวิต

ถ้าในทุกเดือนนั้นคุณได้เอาเงินส่วนหนึ่งของคุณเองมาลงทุนในเรื่องของการเรียน การออกกำลังกาย การเข้าสังคม การคบหาเพื่อน การที่เราไปเที่ยวต่างๆ เมื่อหลายปีผ่านไป คุณจะพบว่าเงินที่คุณใช้ไปนั้น คุณได้กลับคืนมาหลายเท่าตัว อาจจะเป็นในเรื่องของโอกาสต่างๆที่ได้จากคนรู้จักเรานี้

ประเภทที่ 2 : คนที่นอกเหนือจาก 8 ชั่วโมงไม่เรียนรู้

มีเพื่อนคนนึงเขาทำงานเป็นการค้าขายระหว่างประเทศ ในการทำงานปีแรกของเขานั้นก็พบว่ามีลูกค้าชาวสเปนเยอะมาก จากนั้นเขาก็เลยเริ่มที่จะศึกษาเรียนรู้ภาษาสเปนมากยิ่งขึ้น

ทุกวันหลังกลับมาจากทำงาน เขาจะไปเรียนภาษาเพิ่มเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะฝนตกพายุเข้าเขาก็จะไปเรียนโดยไม่มีวันหยุด

ระยะเวลาผ่านไปเป็นเวลา 3 ปี เขามีความสามารถด้านภาษาเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างมาก ทำให้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมงานนิทรรศการการค้าต่างประเทศ และเขาได้ลูกค้ารายใหญ่หลายๆกลับมาทำการประกอบธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ในปีที่ 7 ของการทำงานเขาเปิดบริษัทของตัวเอง สิ่งที่เขาไม่เคยหยุดทำนั่นคือการใช้เวลานอกเหนือจาก 8 ชั่วโมงของการเรียนรู้ ของการทำงาน รู้จักศึกษาหาความรู้รอบด้าน และเรียนรู้เพิ่มเติมให้มีความรู้อยู่ในหัวมากที่สุด

ประเภทที่ 3 : คนมองอะไรสั้นๆ ตัดสินแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าทันที

เราไม่ได้มีหน้าที่อยู่กับการทำงานเท่านั้น เราควรมองถึงอนาคตและกำหนดเป้าหมายชีวิตของเราในระยะยาวให้ได้ และสร้างทางเดินของเราให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเรานั้นให้ได้

อย่าพยายามเป็นคนที่มองอะไรสั้นๆ และตัดสินใจแค่ตรงหน้าในทันที เราควรมองการณ์ไกล รับรู้ถึงปัญหาและเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี

ประเภทที่ 4 : คนที่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่เป็น

บริษัทชาวต่างชาติแห่งหนึ่ง ได้ให้เงินผู้สมัครงานเป็นจำนวนเงิน 75 บาท ให้พวกเขาเหล่านั้นไปหาอะไรกินด้วยกันถึง 6 คน ข้าวจานนึงราคาอย่างต่ำ 15 บาทเงินที่พวกเขามีไม่พอที่จะซื้อข้าวคนละจาน ก็เลยกลับไปบริษัทด้วยอารมณ์ที่หงุดหงิด

เมื่อถึงบริษัท ประธานบริษัทรู้เรื่องและส่ายหน้า และพูดว่าขอโทษด้วยผู้คนไม่เหมาะกับบริษัทของเรา

ร้านอาหารนั้นมีโปรโมชั่นคือซื้อ 5 แถม 1 หรือแม้ถึงไม่มีโปรก็ยังขอจานเปล่ามาใบหนึ่งแล้วสั่งข้าว 5 จานมาแบ่งกันกินก็ได้ แต่ผู้สมัครทั้ง 6 คนต่างคนต่างมาไม่ได้คิดว่ามาด้วยกันและเป็นทีมเดียวกัน ทุกคนต่างคิดถึง แค่ตัวเองเพราะถึงได้มือเปล่ากลับไป

นักปรัชญา Ai Siqi กล่าวไว้ว่า “แต่ละคนก็เหมือนอิฐก้อนนึง โยนลงไปบนถนนก็ง่ายที่จะถูกเตะไปมา แต่ถ้าคุณเอาอิฐหลายๆก้อนมาก่อเป็นผนัง ก็ยากที่จะมีใครทำให้เคลื่อนไหวได้”

ประเภทที่ 5 : คนที่ตอบสนองต่อสิ่งใหม่ๆ ช้า

ในเวลา 2 ปีก่อนนโยบายลูกคนที่ 2 ได้ประกาศออกมานั้น คนที่เขาตอบสนองอย่างรวดเร็วรีบคว้าโอกาสเหล่านั้นในการทำธุรกิจ ลงทุนเกี่ยวกับแม่และลูกจนบริษัทมีความเจริญรุ่งเรือง

ปี 2011 WeChat ถูกเปิดตัว ปี 2012 หลายๆคนกำลังเรียนรู้ว่าใช้ยังไง แต่คนที่มีเซนส์ได้ค้นพบประโยชน์ของแพลทฟอร์มนี้ และเปิดแอคเค้าท์สาธารณะของตนเองเป็นที่เรียบร้อย

ตอนนี้แอคเค้าท์ที่ขึ้นต้นด้วย V ก็คือแอคเค้าท์ที่เริ่มในสมัยนั้น

ในเมื่อก่อนนั้นคนส่วนมากมักพูดกันว่า ปลาเล็กกินปลาใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้ต้องเป็นคำพูดมาใช้เป็นปลาเร็วกินปลาช้า สิ่งใหม่ๆมักเกิดขึ้นอยู่เสมอและมาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจที่เราควรคว้าเอาไว้คนที่มีความคิดช้าก็จะไม่มีทางได้สัมผัสกับโอกาสเรานั้น

ในยุคนี้ พวกเราต้องมีสัญชาตญาณของวิกฤต ค้นหาและแก้ไข้ข้อบกพร่องของตัวเองอย่างทันท่วงที เพื่อที่จะพัฒนาต่อไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ไม่อย่างนั้น 3 ปีผ่านไป คุณจะพบว่า คุณถูกคนอื่นๆทิ้งไว้ข้างหลังแล้ว

เรียบเรียง : postsara

ขอบคุณข้อมูลจาก : LIEKR

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here