ผัก 7 ชนิด “ห้ามกินดิบ” ใครกินบ่อยๆ ร่างกายเปลี่ยน

0

ผัก 7 ชนิด “ห้ามกินดิบ” ใครกินบ่อยๆ ร่างกายเปลี่ยน

หากจะพูดถึงในเรื่องของการทานผักแล้วนั้น คนส่วนมากมักจะเข้าใจผิดว่าอยากทานผักสดๆจะทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่าผักต้มหรือผักที่เอาไปผ่านความร้อน และกลัวว่าจะสูญเสียวิตามิน

แต่หารู้ไม่ว่ายังมีผักอีก 7 ชนิดที่ห้ามทานแบบดิบ พอจะทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์นั่นเอง

1. ถั่วงอก

ผักกินสดฮอตฮิตอันดับต้น ๆ อย่างถั่วงอกมักจะมีการปนเปื้อนแบคทีเรียซัลโมเนลลา และอีโคไล อีกทั้งยังมีสารโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวที่เหล่าพ่อค้า แม่ค้ามักจะนำมาฟอกสีให้ถั่วงอกมีสีขาวน่ารับประทาน อีกทั้งยังเป็นสารที่รักษาความสดของถั่วงอกให้เก็บไว้ขายได้นาน ซึ่งหากผู้บริโภคมีอาการแพ้สารชนิดนี้ หรือกินถั่วงอกดิบในปริมาณมาก กระทรวงสาธารณสุข ก็บอกว่าอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ หายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ และปวดท้องได้ แต่ถ้าหากนำถั่วงอกไปปรุงสุกก็จะช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย และสารฟอกขาวได้จนไม่ก่อให้เกิดอันตราย

2. ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปนเปื้อนตัวสารกำจัดแมลงสูง ดังนั้นหากทานถั่วฝักยาวดิบ ๆ ที่มีการปนเปื้อนเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ ดังนั้น หากชอบทานแบบดิบ ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน โดยหักเป็นท่อนแล้วนำไปแช่น้ำนาน ๆ หรือไม่ก็เลือกทานแบบสุกจะปลอดภัยกว่า

3. เห็ด

เห็ดสดที่มีเนื้อสีขาวทั่วไปมักจะตรวจพบสารอะการิทีน (Agaritine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง แต่จะสลายไปได้เองหากเห็ดเหล่านั้นผ่านการปรุงสุกแล้ว

4. กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลีมีวิตามินซีสูง กินแล้วมีประโยชน์แน่ ๆ แต่ต้องปรุงให้สุกก่อนรับประทาน เนื่องจากหากกินกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก สารออกซาเลต (Oxalate) ในกะหล่ำปลีจะไปจับกับแคลเซียมที่กรวยไต จนกลายเป็นสารแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งหากมีสารตัวนี้ที่กรวยไตมาก ๆ ก็เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ อีกทั้งในกะหล่ำปลีดิบยังมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งคนที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหารอาจย่อยน้ำตาลชนิดนี้ไม่ได้ และอาจนำไปสู่อาการท้องอืด แน่นท้อง แต่หากนำกะหล่ำปลีไปปรุงสุก น้ำตาลที่ว่าก็จะเปลี่ยนโมเลกุลเป็นสารที่ย่อยได้ง่าย ไร้ปัญหาท้องอืดแน่นอน

นอกจากนี้ในกะหล่ำปลีดิบยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายดึงไอโอดีนจากโลหิตไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ ดังนั้นผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์จึงไม่ควรทานกะหล่ำปลีดิบ แต่กอยโตรเจนจะสลายได้อย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อน ฉะนั้นจึงควรบริโภคกะหล่ำปลีแบบปรุงสุกจะดีกว่า

5. หน่อไม้

ศูนย์ข้อมูลด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ในหน่อไม้สดมี Cyanogenic glycoside หากร่างกายได้รับสารตัวนี้ในปริมาณมาก Cyanogenic glycoside จะเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน ทุรนทุราย หมดสติ และอาจถึงชีวิตได้ ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ต้มหน่อไม้สัก 10 นาที หรือนำหน่อไม้ไปดอง (ซึ่งต้องผ่านการต้ม) ก่อนรับประทาน เพราะวิธีการปรุงสุกด้วยความร้อนจะช่วยสลาย Cyanogenic glycoside ได้

6. มันสำปะหลัง

Cyanogenic glycoside สารตัวนี้ยังตามมาหลอกหลอนในมันสำปะหลังด้วย ซึ่งทางสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้บอกว่า หากรับประทานมันสำปะหลังดิบในส่วนหัว ราก ใบ อาจมีสารอาหารที่ไม่ดี ขัดต่อระบบร่างกาย ขัดขวางการทำงานของระบบหัวใจและทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง หรือเบาะ ๆ อาจเกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออุจจาระร่วง

7. ผักโขม

ผักใบเขียวขจีอย่างผักโขมดิบ ๆ มีกรดออกซาลิก (Oxalic) ที่เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมไปใช้ ดังนั้นคนที่ขาดธาตุเหล็กหรือแคลเซียมจึงไม่ควรทานผักโขมแบบดิบ ๆ ทว่าเจ้ากรดออกซาลิกตัวนี้จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อเจอความร้อน ซึ่งก็หมายความว่าเราควรปรุงผักโขมให้สุกก่อนนำมารับประทานนั่นเองนะคะ แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีภาวะดังกล่าวก็ยังสามารถทานผักโขมดิบได้

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here