แก้ปัญหา “รถร้อนอบ” เมื่อจอดกลางแดด อุณหภูมิลดลงถึง 8 องศา

0

แก้ปัญหา “รถร้อนอบ” เมื่อจอดกลางแดด อุณหภูมิลดลงถึง 8 องศา

ด้วยอากาศอันร้อนแรงของบ้านเรา ทำให้เวลาที่เราจอดรถไว้กลางแจ้งเพื่อลงไปทำธุระ แม้จะใช้เวลาไม่นาน บางครั้งยังไม่ถึงชั่วโมง เมื่อกลับมาขึ้นรถกลับรู้สึกเหมือนเดินเข้าเตาอบร้อนๆ อากาศภายนอกทำให้ภายในรถทั้งอบทั้งอ้าว แม้แต่เบาะนั่งหรือพวงมาลัยก็ร้อนจนแทบทนไม่ได้ หายใจไม่สะดวก อึดอัด บางคนจึงแก้ปัญหาด้วยการลดกระจกลง แล้วเปิดแอร์แรงสุด หรือขับไปสักพักให้ลมเย็นธรรมชาติถ่ายเทอากาศเหล่านั้นออกไปเสียก่อน

คนส่วนใหญ่มักจะทำแบบนั้น และในสื่อต่างประเทศยังมีรายงานว่า เมื่อคนเราพบเจอสถานการณ์แบบนี้นี้หลายคนมักจะลดกระจกรถลง และเปิดแอร์ให้แรงที่สุด จนกระทั่งอุณหภูมิภายในรถลดลงถึงระดับที่พึงพอใจ แต่บางคนไม่อยากนั่งรอ พอลดกระจกได้นิดหน่อยก็ขับรถออกไปเลย แต่ในความเป็นจริง ยังมีวิธีที่ปลอดภัยกว่าการทำแบบนี้ เป็นวิธีที่จะช่วยเร่งให้ภายในรถของคุณมีอากาศเย็นได้อย่างรวดเร็ว

1. ขณะจอดรถให้กดปุ่มเปิด “ระบบหมุนเวียนอากาศภายนอกรถ” เอาไว้

หากคุณมีความจำเป็นที่จะต้องจอดรถในที่สาธารณะที่ไม่มีร่ม หรือที่กลางแจ้งมีแดดจัด ใหเคุณเปิดโหมดหมุนเวียนอากาศภายนอกรถยนต์ทิ้งไว้ เมื่อรถของคุณตากแดดนานจนทำให้อุณหภูมิภายในรถร้อนจัด โหมดหมุนเวียนอากาศจะช่วยระบายอากาศอันร้อนอบอ้าวภายในรถออกไปได้

ความสำคัญหลักของปุ่มนี้ คือ เพื่อช่วยถ่ายเทอากาศภายในรถ หมุนเวียนออกมาสู่ภายนอก ทำให้เกิดความสมดุลของอากาศทั้งภายนอกและอากาศภายใน ส่งผลให้อากาศในรถไม่สะสมอัดแน่นอยู่ข้างในรถ เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการเปิดกระจกแล้วขับรถในทันที

2. ตอนขึ้นรถให้กดปุ่มเปิด “ระบบอากาศหมุนเวียนภายในรถ”

วิธีนี้จะทำให้รถของคุณทำความเย็นได้เร็วยิ่งขึ้น โดยทั่วไปรถยนต์ทุกคันจะมีระบบปรับอากาศ 2 แบบนี้อยู่แล้ว เมื่อเราขึ้นรถ ปิดประตูแล้วจึงเปิดระบบหมุนเวียนอากาศภายในรถ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำการแพร่กระจายและไหลเวียนอากาศภายในรถเท่านั้น อากาศร้อนภายนอกจะได้ไม่เข้ามาแทรกแซงภายใน นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้รถเย็นเร็วขึ้น

3. เปิดปิดประตูรถเพื่อไล่อากาศ

ไม่น่าเชื่อแต่ว่าเป็นเรื่องจริง แค่เพียงคุณเปิดและปิดประตูรถยนต์ ประมาณ 5-6 ครั้ง โดยใช้จังหวะการเปิดปิดแบบธรรมดา เหมือนตอนคุณขึ้นลงรถ ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาทีด้วยซ้ำ แต่ว่าสามารถลดอุณหภูมิภายในรถได้ถึง 8 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ลองทำดูกันนะ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมจดจำและนำไปปฏิบัติเพื่อรักษาประสิทธิภาพของรถ และปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น และอย่าส่งต่อข้อมูลดีๆ มีประโยชน์แบบนี้ให้แก่เพื่อนฝูงและครอบครัวผู้ใช้รถของคุณกันด้วยนะ

ขอบคุณที่มา : twgreatdaily , Liekr

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here