ได้เยอะเหมือนกัน การจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูก “เลิกจ้าง”

0

ได้เยอะเหมือนกัน การจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูก “เลิกจ้าง”

ตามสภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้ความมั่นคงในเรื่องของระบบการเงินมนุษย์เงินเดือนเริ่มลดน้อยลงทุกๆวัน และก็มีหลายองค์กรได้เลิกจ้างพนักงานตามความจำเป็นหรือตามนโยบายขององค์กร

ซึ่งกรณีการเลิกจ้าง มีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลิกจ้างอยู่ในหมวด 11 ว่าด้วยเรื่องค่าชดเชย มีมาตราที่เกี่ยวข้องอยู่ 5 มาตรา คือ มาตรา 118 – มาตรา 122

การเลิกจ้างตามมาตราดังกล่าว หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายจากการจ้างงานตามมาตรา 118 ดังนี้

1. ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 30 วัน

2. ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 90 วัน

3. ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 180 วัน

4. ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 6 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 240 วัน

5. ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 300 วัน

ทั้งนี้มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย คือ ลูกจ้างลาออกเอง หรือทำผิดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

ดังนั้นลูกจ้างคนไหนที่อยากจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ก็จะต้องปฏิบัติตนเป็นลูกจ้างที่ดีของนายจ้าง อย่าทำผิดจนเข้าข่าย 6 ข้อที่กล่าวมา

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

สำหรับภาระภาษีจากเงินได้ที่ได้รับชดเชย ทางสรรพากรก็ยังใจดี โดยยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินชดเชยที่ได้รับจากการถูกเลิกจ้างตามมาตรา 118 สำหรับส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท

และถ้าเรามีอายุงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ยังสามารถเลือกแยกยื่นภาษีตามมาตรา 48(5) ทำให้เสียภาษีน้อยลงไปอีกได้ แต่ถ้าอายุงานน้อยกว่า 5 ปี เราก็ต้องนำเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานไปยื่นรวมกับเงินได้ตามปกติ

แต่ถ้าเป็นกรณีเรายื่นใบลาออก แล้วบริษัทจ่ายเงินชดเชยซึ่งคำนวณตามกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา 118 ดังนั้นเราจะ ไม่มีสิทธิ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินชดเชยสำหรับส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท และแยกยื่นภาษีตามมาตรา 48(5) ไม่ได้ แม้ว่าอายุงานเราจะไม่น้อยกว่า 5 ปีก็ตาม เราก็ต้องนำเงินชดเชยที่ได้ไปยื่นรวมกับเงินได้ตามปกตินะ

หมายเหตุ เงินชดเชยตามกฎหมาย ไม่ได้หมายถึงเงินเดือนอย่างเดียว แต่รวมถึงเงินค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำมันรถ และอื่น ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเป็นจำนวนเฉพาะเจาะจงแน่นอนปกติทุกเดือนโดยไม่ต้องใช้ใบเสร็จประกอบ

ขอขอบคุณ : Wealth Me Up, ทนายเพื่อนคุณ

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here