เก็บเงินไม่อยู่ ออมเงินไม่เป็น ให้ดูวิธี ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี มีเงินเก็บหลักแสน

0

เก็บเงินไม่อยู่ ออมเงินไม่เป็น ให้ดูวิธี ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี มีเงินเก็บหลักแสน

เก็บเงินไม่เคยอยู่เราใช้วิธีไหนก็ยังไม่ได้ผลคำพูดประโยคนี้คนเกิดขึ้นกับหลายๆคนแต่เราเชื่อว่าคุณจะมีความคิดที่เปลี่ยนไปและคุณจะมีเงินเก็บหลักแสนเพียงใช้เวลาแค่ 1 ปีเท่านั้นหากใครอยากรู้วิธีเรามาดูกันเลยว่าเขามีวิธีการเก็บเงินอย่างไรถึงได้มีเงินเก็บที่มากขนาดนั้น

รีวิวการเก็บเงินข้ามปี จากคนที่ไม่เคยเก็บเงินได้

ปีที่แล้ว เราจะใช้วิธีเก็บโดยการเน้นเก็บแต่แบงค์ 50 ซึ่งทำการเก็บอย่างน้อยวันละ 50 ซึ่งดูลำบากต่อการใช้ชีวิตมาก เพราะบางวันได้รับเงินทอนเป็นแบงค์ 50 ไม่ต่ำกว่า 3 ใบ

ปีนี้เราเลยเปลี่ยนแผนใหม่ โดยแต่ละวันจะหยอดเท่าไหร่ก็ได้ไม่กำหนด แต่จะกำหนดว่าในแต่ละเดือน ต้องมียอดเงินในกระปุกเท่าไหร่ ซึ่งเรากำหนดไว้จะเก็บเดือนละ 2,000 บาท ถ้าเดือนไหนขาด ก็ต้องหามาเติม ถ้าเดือนไหนเกินก็ถือเป็นกำไร 2,000 x 12 เดือน สิ้นปีเราก็จะมีเงินเก็บประมาณ 24,000 บาท

ส่วนมากเราจะเก็บให้เกิน 2 พัน เลยทำให้ปีนี้ เก็บได้ทั้งหมด 27,900 บาท เหรียญ 5,10 อีก 4,000 บาท (เหรียญบาทขก.นับ) รวมเป็นเงิน 31,900 บาท

ทริคการเก็บเงินให้อยู่

– เวลาจะเลือกซื้ออะไรก็ตามแต่ คิดเยอะๆ หาเหตุผลมาโต้เถียงตลอดเวลา ว่ามันจำเป็นแค่ไหน ใช้ได้ระยาวแค่ไหน ราคาสมเหตุสมผลกับผลลัพธ์ที่เราจะได้มั้ย เคยพลาดซื้อของแพงๆ แต่ไม่ได้ใช้ทำอะไรเลย

– ซื้อแค่เพราะอยากได้ เพราะงั้นตอนนี้เราจะยอมเสียดายที่ไม่ได้ซื้ออะไรที่ไม่จำเป็น เพื่อมีเงินเก็บสักก้อนไว้ใช้ในอนาคต

ปล. เป้าหมายสำคัญน้าาา ว่าจะเก็บไปทำไม เก็บเพื่ออะไร จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรในอนาคต ถ้ามีเป้าหมาย และความตั้งใจ ไม่ว่าเรื่องอะไรเราจะทำมันได้ในทุกๆอย่าง

แรงจูงใจในการเก็บ

ตอนเด็กๆ ชอบขอเงินแม่ซื้อไปซื้อของเล่น เล่นได้ไม่นานก็เบื่อ เปลี่ยนใหม่ไปเรื่อยๆ พอโตมาหน่อยแม่ก็จะบอกว่า อยากได้อะไร ก็ต้องเก็บเงินซื้อเอง จะได้รู้คุณค่า รู้จักรักษา ตอนนี้โตพอที่จะรักษาของชิ้นนั้นแล้ว #ความรักก็เช่นกัน จริงๆ แล้วการออมเงินไม่ได้เป็นเรื่องยากนะคะ บางคนเป็นหนี้อยู่ก็ยังออมเงินได้ เพียงแต่ว่าเราจะต้องตั้งใจทำนิดนึงค่ะ วิธีการออมเงินง้ายง่าย เป็นคนเก็บเงินไม่เก่งก็ทำได้

พกเงินน้อยลง

หากเราเป็นอีกคนที่ใช้เงินเก่ง เก็บเงินไม่เก่ง มีเท่าไหร่ใช้ได้หมดเท่านั้น แปลว่าเราเป็นคนพกเงินเยอะ ก็ใช้เยอะ แล้วถ้าพกเงินน้อยล่ะ

พกเงินติดตัวจำนวนน้อยกว่าที่เคย อาจจะใช้ระบบการคำนวณค่าใช้จ่ายรายวัน ว่าเราใช้เงินต่อสัปดาห์เท่าไหร่ แล้วพกพอดีเท่านั้น และคอยเตือนตัวเองว่านี่คือเงินที่เราต้องใช้ทั้งสัปดาห์นะ ไม่ใช่ใช้หมดใน 1 วัน แล้วถอนเงินเป็นรายสัปดาห์แทนที่จะถอนเมื่อเงินหมด ก็จะสามารถช่วยคุณออมเงินได้เช่นกันค่ะ

เอาชนะใจตัวเอง (ข้อนี้สำคัญมาก)

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการออมเงิน คิดว่าคงเป็นการเอาชนะใจตัวเอง ไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่เอาเงินในกระปุกออกมาใช้จ่าย แต่จะทำยังไงล่ะถึงจะบังคับตัวเอง สร้างวินัยในการออมเงินใหม่ได้?

สร้างเป้าหมายระยะยาวสำหรับการออมเงินให้ตัวเอง ว่าเราต้องการออมเงินเพื่ออะไร ซื้อบ้าน ซื้อรถ ดูแลครอบครัว ซื้อคอนโด ฯลฯ มีเป้าหมายชัดเจนในการออมเงิน แล้วใช้เป้าหมายนี้เตือนตัวเองว่าเราต้องออมเงินไปเพื่ออะไร

หากเรามีเป้าหมายชัดเจนสำหรับการออมเงิน ว่าเราต้องการออมเงินไปเพื่ออะไร แม้ว่าจะเป็นการออมเงินเพื่อการมีเงินสะสม เพื่ออนาคตที่สุขสบาย ก็ยังเป็นเป้าหมายที่ดีค่ะ แล้วเราก็ใช้เป้าหมายเหล่านี้แหละค่ะมาเตือนตัวเองเวลาเราคิดจะแคะกระปุกเอาเงินไปใช้ ว่าเราอุตส่าห์อดทนออมเงินเพื่ออะไรกันแน่ พอเรานึกถึงเป้าหมายแล้ว รับรองว่าสามารถเอาชนะใจตัวเองได้แน่นอน

ลดค่าใช้จ่าย

วันๆหนึ่ง คนทำงานต้องกินต้องใช้ กาแฟ ชา ขนม นม เนย ของขบเคี้ยวแก้ง่วง ถ้าซื้อบ่อย ซื้อประจำ ก็เปลืองเงิน อะไรลดได้ก็ลดดีกว่าค่ะ ถือซะว่าเป็นการลดน้ำหนักไปในตัวด้วยเลย

ลดการซื้อชา กาแฟ เปลี่ยนมาซื้อชาเป็นกล่อง กาแฟผงชงเอง ลดปริมาณขนมขบเคี้ยวที่รับประทานประจำวัน วางแผนอาหารการกินของตัวเอง จริงๆ แล้วหากเราทำกับข้าวเองอยู่แล้ว เราก็สามารถทำกับข้าวเพิ่มตอนกลางคืน แล้วนำที่เหลือใส่กล่องมารับประทานที่ออฟฟิศแทนก็ได้นะคะ เป็นการลดค่าใช้จ่าย แถมได้กินคลีน กินอาหารดีๆ อีกด้วยค่ะ แล้วก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มสิ่งที่เราทำประจำวันแต่อย่างใดเลยด้วยค่ะ

ความจริงแล้วทุกคนสามารถเก็บเงินออมเงินได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าตัวเรานั้นจะมีเป้าหมายอย่างไร หากเพื่อนๆกำหนดเป้าหมายในชีวิตว่าสิ้นปีนี้เราจะต้องมีเงินเก็บ ว่าปีหน้าแล้วจะเอาเงินก้อนนี้ไปทำอะไรนั้น เราก็จะสามารถวางแผนเก็บเงินได้ เริ่มตั้งแต่วันนี้ก็ยังไม่สายนะคะ อยากให้เพื่อนๆได้ลองกันดู

ขอบคุณข้อมูลจาก : Panithan Thatrahun

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here