6 วิธีขับ “อุจจาระ” ไม่ตกค้าง แก้อาการท้องผูกแบบหมดพุง

0

6 วิธีขับ “อุจจาระ” ไม่ตกค้าง แก้อาการท้องผูกแบบหมดพุง

มีเคล็ดลับแจ๋วๆ มานำเสนออีกแล้ว คราวนี้เป็นเคล็ดลับที่เหมาะสำหรับคนที่มักมีอาการท้องผูก เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ไม่ชอบรับประทานผักผลไม้หรืออาหารที่มีกากใย คนที่มี พ ย า ธิ ระบบการขับถ่ายทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือมี เ ชื้ อ ร า จนทำให้เกิดอาการ “อุจจาระตกค้าง” ในลำไส้ เหมาะกับคนที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลา มาทำการชะรำล้างลำไส้ด้วยวิธีง่ายๆ กัน

ช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสมสำหรับการขับถ่ายอุจจาระ คือ เวลา 05.00-07.00 น. เช้า

หากเราขับถ่ายหลังเวลา 7 โมงเช้า ลำไส้จะบีบให้อุจจาระย้อนกลับขึ้นไปอยู่ช่วงบนของลำไส้ เวลาถ่ายจะยังหลงเหลืออุจจาระค้างคา เกาะที่ผนังลำไส้ พอมีอุจจาระใหม่ที่เหลวกว่า มันจะถูกขับออกไปก่อน และไม่สามารถดันของเก่าที่ค้างแข็งให้ออกไปด้วยได้ ของเก่าที่ติดค้างอยู่ก็จะเกาะติดแน่นไปเรื่อยๆ จนเกิดการตกค้าง ไปทับเส้นโลหิตต่างๆ ในกระเพาะและกดทับกระดูกหลัง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ท้องอืด ปวดหลัง ปวดขา ปวดกล้ามเนื้อที่ไหล่และสะบัก เวียนหัว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เป็นฝ้า ไมเกรนและอื่นๆ

อุจจาระตกค้าง เป็นสิ่งที่เกิดขขึ้นได้จริง แต่ไม่ใช่ว่าจะเกิดได้กับทุกคน เราสามารถตรวจเช็คได้ว่าตัวเองมีสิ่งตกค้างอยู่หรือไม่ ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่คุณนอนหงายแล้วเอามือคลำท้องด้านซ้ายล่าง เลยสะดือไปทางซ้ายเล็กน้อย ใช้นิ้วทั้ง 5 ลองกดให้ลึกเต็มเลื่อนปลายนิ้วคลำไปมา ถ้ามีอึค้างอยู่จะคลำได้เป็นลำคล้ายแท่งยาวอยู่ตามรูปลักษณ์ของ ลำไส้ สามารถคลำเจอได้ง่ายในคนที่มีร่างกายผอมบาง สำหรับคนเจ้าเนื้ออาจต้องใช้เทคนิคเพิ่มเติม คือนอนแล้วแขม่วพุง จะช่วยให้คลำหาได้ง่ายขึ้น

แต่ทางที่ดีเราควรฝึกขับถ่ายตามเวลา จนเป็นกิจวัตรประจำวันของร่างกาย

สำหรับเทคนิค “อึให้ดี ไม่มีตกค้าง” มีดังนี้

1. อย่าอั้นอึตอนเช้า เพราะถ้าเลยเช้าไปแล้ว กว่าร่างกายจะส่งสัญญาณให้ปวดอีกอาจจะนานจนผิดเวลา

2. อึให้ตรงกับเวลาเดิม เหมือนเป็นการช่วย “โปรแกรมลำไส้” ให้คอยบีบไล่อึออกมาสม่ำเสมอ จะทำให้ไม่เกิดการตกค้างของอุจจาระ

3. ห้ามเบ่งอึ ควรรอจังหวะให้ดี หากไม่รู้สึกปวดห้ามเบ่ง เดี๋ยวลำไส้จะเริ่มบีบตัวใหม่เอง ให้คุณจับสังเกต จะรู้สึกได้ถึงการบีบตัวของลำไส้ คุณจะรู้สึกปวดเป็นช่วงๆ เป็นเพราะลำไส้คนบีบตัวเป็น ลูกคลื่นเหมือนงูเลื้อย ถ้ามันเลื้อยมาถึงตรงอึพอดีมันจึงปวดขึ้นมา ถ้าเบ่งตอนไม่ปวดจะเหมือนเป็นการ “แกล้งลำไส้” ให้เกิดแรงดันขึ้นมาโดยใช่เหตุ และอาจจะนำมาซึ่ง “โรคริดสีดวงทวาร” ด้วย

4. ใช้วิธีนวดลำไส้ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ ในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องน้อยเลยสะดือไป นวดเบาๆ ไปมา ทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมาเอง

5. ให้ใช้ท่านั่งยองในการขับถ่าย หรือเอามือกดท้องด้านซ้ายล่างขณะถ่าย เพราะที่จริงแล้ว ท่านั่งอึที่ดีตามธรรมชาติของคน คือ “นั่งยอง” เนื่องจากจะได้มีแรงกดจากหน้าขาเข้ามาช่วยด้วย การที่ฝรั่งเอาส้วมแบบนั่งมาให้เราใช้เป็นการผิดธรรมชาติมนุษย์ เวลานั่งห้อยขาเราจะไม่มีแรงแบ่งอึได้มากเท่าการนั่งยอง ทำให้คนเอเชียกลายเป็นทั้งริดสีดวงและท้องผูกมากเหมือนชาวตะวันตก

6. คนที่ต้องนั่งนานๆ ควรลุกขึ้นเดินไปมา เพื่อกระตุ้นให้ไส้บีบตัวดี สักพักไส้จะบีบรีดเอา “อึท้ายขบวน” ที่เหลือออกมา แล้วเราจะรู้สึกปวดท้อง อยากขับถ่ายอีกครั้ง

*หากคุณมีความถี่ในการอึน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แปลว่าคุณกำลัง “ท้องผูก”

**นอกจากออกกำลังกายแล้ว ยังใช้อาหารล้างลำไส้ช่วยได้ คือ

1. น้ำมะขามเปียก

2. ลูกพรุนแห้ง รับประทานทั้งผล เพราะจะได้กากด้วย ไม่ต้องแยกกินแต่น้ำ ยกเว้นถ้าเป็นเด็ก

3. แอปเปิ้ลเขียว กินทั้งผลหรือปั่นทั้งกากก็ได้

4. ถั่วดำ จัดเป็นอาหารล้างสิ่งผิดปกติได้ด้วย

5. สับปะรดและมะละกอที่มีน้ำย่อยช่วยกัดกากคราบโปรตีนเก่าๆ ที่ถูกย่อยไม่หมดและจะมีสภาพติด เป็นอุจจาระยางเหนียวสีดำคล้ายกับ “จาระบี”

6. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นในตอนเช้า ให้ดื่มน้ำในอุณหภูมิปกติหรือน้ำอุ่นในตอนเช้าหลังตื่นนอน ในตอนท้องว่างจะช่วยให้ไส้บีบรัดตัว ชวนให้ปวดอึขึ้นมาได้ดีทีเดียว

เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ นำไปใช้ได้ผลแน่น แต่ทางที่ดีอย่าลืมรับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ รับประทานผักและผลไม้เยอะๆ และหัดขับถ่ายให้เป็นเวลา จะได้ไม่เกิดอุจจาระตกค้างให้ร่างกายเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ตามมาอีก เพื่อสุขอนามัยและสุขภาพที่ดีของทุกคน

ขอบคุณที่มา : liekr

เรียบเรียงโดย : Postsara

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here