แพทย์บอก บ้านหมุน ไม่ใช่เรื่องเล่น เป็นถือว่าไม่ปกติ
ทางแพทย์ได้ออกมาเผยว่า อาการวิงเวียนบ้านหมุน พบได้บ่อยในทุกทุกวัย หากเกิดอาการขึ้นกับตัวเองไม่ควรที่จะซื้อ ย า มากินเอง เพราะว่าในบางครั้งอาการวิงเวียนศีรษะอาจจะเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคอื่นได้
ทางด้านนายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เผยว่า อาการบ้านหมุนนั้นเป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความน่ารำคาญใจให้กับชีวิต กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ผู้ที่มีอาการนั้นวิงเวียนศีรษะระหว่างทำงาน หรือใครที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอาจจะเกิดเหตุที่ไม่ทันคาดคิดได้ อาการที่พบบ่อยก็คือ เวียนศีรษะ อาการคลื่นไส่อาการอาเจียน มีความรู้สึกว่าหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม เริ่มทรงตัวยากลำบากขึ้น
บ้านหมุนนั้นคล้ายกับสิ่งแวดล้อมที่หมุนรอบตัว เราจะรู้สึกว่าตัวเองหมุนทั้งๆที่ไม่มีการเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการทางหูร่วมด้วยเช่น อาการหูอื้อ มีเสียงในหู
สาเหตุจากอาการบ้านหมุน หู มักจะเกิดจากสาเหตุของหูชั้นใน เหรียญระบบประสาทก็ได้ ดูถ้ามีอาการเวียนศีรษะที่แรงมากขึ้น ผู้ป่วยนั้นจะไม่สามารถเคลื่อนไหวศรีษะได้
ในบางกรณีอาจจะเกิดอาการอาเจียน มีเสียงดังในหู น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือมีหินปูนในหูหลุด คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า อาการบ้านหมุนนั้นเกิดจากการน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่จากการศึกษาพบว่ามีเพียงร้อยละ 50 ที่เกิดขึ้น จากความผิดปกติของหูชั้นใน อาการน้ําในหูไม่เท่ากันจะพบเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น
ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดทันที ส่วนสาเหตุอื่นๆ ของการเวียนศีรษะอาจเกิดจาก เช่น อาการเมารถ เมาเรือ หรือปวดศีรษะ ไมเกรนได้
ดังนั้นการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง จึงมีความสำคัญกับผู้ป่วย เพราะถ้าได้รับการรักษาในระยะแรกจะได้ผลดี หากสงสัยว่าตนเองมีความผิดปกติ รู้สึกเวียนศีรษะ บ้านหมุนโดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือมีประวัติโรคหู ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง
รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรายที่มีอาการเวียนศีรษะและอาเจียนมากๆ จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ความดันในโลหิตต่ำ ทำให้เกิดเหตุที่ไม่ทันคิดได้
ทั้งนี้เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนขณะทำกิจกรรมต่างๆ ควรหยุดนั่งพัก เพื่อป้องกันการหกล้ม กรณีที่มีอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุนมากๆ ควรนอนพักสักครู่ จนอาการดีขึ้นหรือนั่งพัก หลับตา และรีบไปพบแพทย์
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการไม่ดี เช่น การหันศีรษะไวๆ การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้ม เงยคอนานๆ ความเครียด วิตกกังวล อดนอน เป็นต้น ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้
ขอขอบคุณ : นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ