กสทช. เตรียมเรียกเก็บเงินจากเฟซบุ๊ค-ยูทูบ หากไม่จ่ายจะถูกลดความเร็ว

0

กสทช. เตรียมเรียกเก็บเงินจากเฟซบุ๊ค-ยูทูบ หากไม่จ่ายจะถูกลดความเร็ว

เรียกได้ว่าเป็นเรื่องราวที่มีผู้คนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ผู้คนบนโลกอนไลน์ได้ส่งต่อ หลังจากที่ผู้ใช้เพจดังบนเฟสบุ้คได้ออกมาพูดถึง กสทช. โดยระบุข้อความเอาไว้ว่า…

กสทช. มีไอเดียใหม่อีกแล้ว จะเรียกเก็บเงินจากเฟซบุ๊ก-ยูทูบ ถ้าใครไม่จ่ายจะถูกลดความเร็วในไท ย

“แนวคิดนี้ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน เราเป็นประเทศแรก” คือคำให้สัมภาษณ์ของเลขาธิการ กสทช. ต่อเรื่องไอเดียเก็บค่าบริการการใช้โครงข่ายจากผู้ให้บริการ OTT (OVER THE TOP) เช่นเฟซบุ๊คและยูทูป

เลขาธิการ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้ระบุถึงแนวคิด เก็บรายได้จาก OTT ที่มีแบนด์วิดท์สูง ในงานสัมมนา ‘5G ปลุกไท ย ที่ 1 อาเซียน’

โดยอธิบายว่า ในบ้านเรามีการใช้งานเฟซบุ๊ก 61 ล้านบัญชี ยูทูบ 60 ล้านบัญชี ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และคาดว่าถ้าได้เริ่มใช้งาน 5G เมื่อไหร่ การใช้งาน data ของประเทศจะเพิ่มเป็น 200 ล้านเทราไบท์

เพราะฉะนั้น เลขาธิการ กสทช. จึงมีไอเดียที่จะเสนอให้ที่ประชุม ถึงแนวทางการยกร่างหลักเกณฑ์การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ ‘โครงข่าย’ จากผู้ให้บริการ OTT (ไม่ได้เก็บจากผู้ใช้งานนะ)

ประเด็นสำคัญคือ ถ้าพบว่า OTT รายไหนมีปริมาณการใช้งานมาก แต่ไม่เสียค่าบริการ ความเร็วการใช้งานจะลดลง ซึ่งนี่คือมาตรการเพื่อให้ OTT ต้องหันมาจ่ายค่าบริการกันตามหลักเกณฑ์ที่จะถูกยกร่างขึ้นมา

“เราต้องการเก็บค่าบริการในการใช้โครงข่าย เพราะรัฐเป็นผู้ลงทุน และรายได้ที่ได้มา นอกจากนำไปบำรุงรักษาโครงข่ายแล้ว ส่วนที่เหลือก็จะนำส่งให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องทำคู่ขนานไปกับ 5G” เลขาฯ กสทช. กล่าว

ด้านรัฐ รายงานว่า หลังจากนี้ กสทช.จะนำแนวคิดเก็บรายได้จากการใช้โครงข่ายจาก OTT ไปหารือระหว่างการประชุมอาเซียนในเดือนสิงหาคมที่กำลังจะถึงนี้

“แม้โลกอินเตอร์เน็ตจะเป็นโลกไร้พรมแดน แต่ผมอยากจะให้มองว่า เมื่อต่างประเทศจะเดินทางเข้ามาประเทศ ก็ยังมีค่าวีซ่า ฉะนั้น การนำข้อมูลเข้ามาให้บริการในบ้านเรา ก็ควรจ่ายเงินค่าใช้โครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศให้กับผู้ประกอบการ และประเทศด้วย เพื่อจะได้นำเงินไปบำรุงรักษาโครงข่าย เพื่อรองรับการบริการที่ดีต่อไป” ไท ยรัฐ รายงานถึงคำพูดของเลขาฯ กสทช.

ทั้งนี้ทั้งนั้นขอทำการย้ำเพิ่มเติมตอนท้ายนี้อีกทีหนึ่งว่า เรื่องนี้ยังเป็นแค่แนวคิดในช่วงเริ่มต้นอยู่ และตามแนวคิดนี้ ถ้าเกิดขึ้นจริงๆ การเรียกเก็บค่าใช้โครงข่ายก็จะเก็บกับผู้ให้บริการ OTT ไม่ใช่ประชาชนผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเรา

ขอบคุณข้อมูลจาก : The MATTER

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here