โรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเราคือโรงเรียนอะไร

0

โรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเราคือโรงเรียนอะไร

ในช่วงของวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊คท่านหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ได้ทำการโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเรา โดยเนื้อหามีใจความดังต่อไปนี้

“โรงเรียนที่ดี”

โรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเราคือโรงเรียนอะไร? โรงเรียนที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน โรงเรียนที่ถูกจัดอันดับในระดับต้นๆ มี เ ด็ ก โอลิมปิกวิชาการเกลื่อนโรงเรียน หรือโรงเรียนที่แสดงขึ้นบอร์ดหน้าโรงเรียนว่า เ ด็ ก จากโรงเรียนนี้สามารถเข้าหมอเข้าวิศวะหรือเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก

เมื่อวานนี้ ภรรยาของผมเพิ่งไปทำเรื่องการ “ลาออก” ของลูกสองคนจากโรงเรียนรัฐบาลไทยที่มีชื่อเสียงและมีคนอยากเข้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย (ดังขนาดมีอัตราการสอบเข้า 1 ต่อ 30, ต้องกวดวิชาเข้าตั้งแต่อนุบาล, ถ้าอยากจ่ายแป๊ะเจี๊ะก็ 7 หลักขึ้นไป, จนเลยเถิดไปถึงมีบทสวดสำหรับพ่อแม่ต้องไปนั่งสวดหน้าประตูโรงเรียนเพื่อขอให้ลูกตัวเองสอบเข้าได้) แล้วมาเข้าเรียนโรงเรียนเล็กๆ แถวบ้าน (จากที่ต้องขับรถ 1.5 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที) แน่นอนว่าถ้ายังเรียนที่โรงเรียนมีชื่อนี้ต่อ ผมเชื่อว่าลูกของผมคงสามารถเข้าเรียนในคณะหรือในมหาวิทยาลัยดังๆ ได้อย่างไม่ยากนัก และเพราะเหตุใด ทางครอบครัวเราถึงตัดสินใจอะไรที่ดูบ้าๆ เช่นนี้

โรงเรียนดัง มีชื่อเสียง และออกจะเท่ห์หากบอกใครๆ ว่าลูกเราได้เรียนที่นี่ แต่ถ้าใครติดตามแนวคิดด้านการศึกษาของผมมาเรื่อยๆ น่าจะพอสรุปเหตุผลของการตัดสินใจของผมได้ว่า

1) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่ต้องมีการสอบ ไม่ว่าจะสอบย่อย สอบกลางภาค หรือสอบปลายภาค ถ้าจะมีก็ขอให้จัดแบบไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า โดยสอบเพื่อประเมินครูและประเมินโรงเรียนเป็นหลัก ไม่ใช่ประเมิน เ ด็ ก การสอบคือการทำร้าย เ ด็ ก ทำให้ เ ด็ ก รู้สึกถึงการแข่งขัน ทำให้ เ ด็ ก ต้องวิ่งลอกไปกวดวิชา ทำให้ เ ด็ ก รักตัวเองมากกว่าจะรักส่วนรวมและสังคม (อาจจะจำได้ว่าผมเคยเขียนเรื่อง เ ด็ ก โดดทำเวรเพื่อหนีไปกวดวิชามาแล้ว)

2) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่จะสั่งการบ้านหรือโครงการอะไรมาทำนอกห้องเรียน ผมคิดว่างานทุกอย่างควรเสร็จตั้งแต่อยู่ที่โรงเรียน เวลาหลังเลิกเรียน วันหยุด หรือช่วงปิดเทอม ควรเป็นเวลาที่ เ ด็ ก ได้ทำในสิ่งที่เขารักหรือมี passion กับสิ่งนั้น ไม่ว่าจะดนตรี กีฬา ศิลปะ ทำงานเสริม เข้าวัดนั่งสมาธิ หรือนอนเล่นๆ อยู่บ้านก็ได้ การมีการบ้านมากมายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ เ ด็ ก ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เขาอยากทำนอกโรงเรียนได้ และสุดท้าย เ ด็ ก ก็ไม่ประสบความสำเร็จใน passion ของตน เพราะมัวแต่ต้องไปเสียเวลาทำการบ้าน (และสอบ)

3) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่ต้องมีการกวดวิชา การกวดวิชาอาจจะทำให้ลูกของผมเป็นที่หนึ่งของห้อง ได้เกรด 4.0 หรืออาจสามารถไปสอบเข้าโรงเรียนดังๆ ในระดับสูงขึ้นต่อได้ แต่ความสำเร็จ “ระยะสั้น” เหล่านี้มันไม่คุ้มค่ากับต้นทุน “ความเครียด” ที่ลูกผมจะได้รับเอาเสียเลย ใครจะไปรู้ว่าถ้าเครียดมากๆ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นบ่อเกิดไปสู่ “การจากไป” ที่เราเห็นจากข่าวต่างๆ ที่ผ่านมาเมื่อ เ ด็ ก กวดวิชาเหล่านั้นต้องโตเป็นวัยรุ่น (หรือเข้ามหาวิทยาลัย) ก็ได้ หรือต่อให้ไม่เกิดขึ้น แต่เท่าที่สังเกตุเป็นการส่วนตัว ผมเห็นว่า เ ด็ ก ที่กวดวิชาโดยส่วนใหญ่จะมีบุคคลิกภาพที่ออกมาไม่ Smart เท่า เ ด็ ก ที่ไม่ต้องกวดและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวให้ได้ทำตาม Passion ของตัวเอง (ไม่เชื่อลองสังเกตุกันดูได้)

4) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่เน้นวัดความเก่งของคนแบบ “การตัดเสื้อตัวเดียวให้ใส่ทุกคน (One Size Fit All)” อย่างเช่นการวัดที่การเขียนในกระดาษคำตอบบนโต๊ะสอบ แล้วครูเอามาตรวจและประกาศให้ทราบกันหน้าชั้น แต่ผมชอบว่าวัดความสามารถแบบการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะสอบกระโดษเชือกในวิชาพละ ถ้านาย ก กระโดดเก่งอยู่แล้ว และนาย ข ยังกระโดดไม่เป็น ผมอยากเห็นระบบการศึกษาที่กำหนดให้นาย ก ต้องไปช่วยนาย ข ให้กระโดดให้ได้ มากกว่าที่จะวัดต่างคนต่างกระโดด การให้กำลังใจกัน การช่วยเหลือกัน การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่เราควรให้รางวัลกับสิ่งนั้นมากกว่าการเก่งเฉพาะบุคคล เพราะมันเป็นทักษะของผู้ใหญ่ที่ประเทศชาติต้องการมากกว่าคนเก่งที่เห็นแก่ตัว

5) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่พอโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เรากลับไปเพิ่ม เพิ่ม เพิ่ม วิชาใหม่ๆ เข้ามา แต่ไม่ไปลดวิชาเก่าที่ล้าสมัยไปแล้ว (ด้วยเหตุผลที่ว่า เราต้องช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมและของเก่าเอาไว้) ยกตัวอย่างเช่น พอประเทศจีนเริ่มพัฒนา โรงเรียนก็ใส่วิชาภาษาจีนเข้ามา (แต่ไม่ได้ไปลดวิชาภาษาไทย) หรือเมื่อโลกเข้าสู่ยุค 4.0 โรงเรียนก็ไปใส่วิชา Coding เข้ามา (แต่ยังคงต้องคัดไทยเหมือนเดิม) วิชาหลายวิชาที่เรียนในโรงเรียนในปัจจุบันจำเป็นเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว แต่มันไม่จำเป็นกับโลกอนาคต การศึกษาต้องสอน เ ด็ ก ให้เป็น “ประชากรโลก (Global Citizen) ไม่ใช่ Old-School Local Citizen

6) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาแบบ ท่อง ท่อง ท่อง (และมาสอบกับสิ่งที่ท่องมา) การศึกษาควรบูรณาการทุกวิชาเข้าร่วมกันได้ในลักษณะของ Project Based หรือ Problem Based Learning เช่น การให้ เ ด็ ก เข้าไปดูปัญหาของชุมชนรอบๆ โรงเรียน และกำหนดให้ เ ด็ ก ทำโครงการที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหาชุมชนให้ได้ ซึ่งโครงการเหล่านั้นอาจต้องใช้ทั้งวิชา สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ พละศึกษา และอื่นๆ ซึ่ง เ ด็ ก นอกจากจะได้ความรู้ในการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ แล้ว เ ด็ ก ยังได้ความมีจิตสาธารณะเพิ่มเติมด้วย การสอนท่องๆๆ แล้วสอบกับการสอนให้คนประยุกต์และออกมาเป็นคนดี อันไหนจะดีกว่ากัน

7) ผมไม่เห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่ “ไม่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของ เ ด็ ก ” (ตรงกันข้าม สิ่งต่างๆ ข้างต้นกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต) ช่วงเวลา เ ด็ ก ประถมศึกษาอยู่ในช่วงของการสร้างสมองและร่างกายให้แข็งแรงและสูงใหญ่ ดังนั้น “การนอนและการกิน” มากๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โรงเรียนที่ เ ด็ ก ไม่ต้องตื่นเช้ามาก ไม่ต้องเสียเวลานานกับการเดินทาง จึงเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างของประเทศจีนให้ความสำคัญในเรื่องส่วนสูงของ เ ด็ ก มากๆ โรงเรียนในกรุงปักกิ่งจะกำหนดความสูงขั้นต่ำของ เ ด็ ก ผู้ชายวัยรุ่นไว้ที่ 182 ซม และของผู้หญิงวัยรุ่นไว้ที่ 174 ดังนั้นถ้ามามัวแต่เรียนหัวโตอย่างเดียว เ ด็ ก เหล่านี้ก็จะไม่สามารถสูงใหญ่ได้ตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นผมจึงอยากเห็นโรงเรียนที่ “บังคับ” ให้ เ ด็ ก จะต้องวิ่งเล่นที่สนามให้มากๆ แทนที่จะมานั่งในห้องเรียน ดังนั้นวิชาที่สำคัญมากๆ ก็คือวิชาพละศึกษา ที่โรงเรียนควรต้องมีวิชานี้ทุกวัน (หรือถ้าไม่มีต้องมีช่วงเวลาพักให้ เ ด็ ก ได้วิ่งเล่นมากๆ)

โดยสรุป โรงเรียนที่ดีสำหรับผมก็คือ “โรงเรียนที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละครอบครัว” สำหรับครอบครัวของผม โรงเรียนที่เหมาะสมคือ ไม่ใช่เรื่องของชื่อเสียง แต่ต้องใกล้บ้าน ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางนาน ลูกมีเวลานอนและมีเวลากินข้าวเช้าแบบไม่เร่งรีบ ไม่ต้องมีการบ้านหรือมีการสอบ (หรือมีให้น้อยที่สุด) เรียนกันแบบช่วยเหลือกันมากกว่าการแข่งขันกัน (แน่นอนว่าไม่ใช่ระบบ Home School) ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งการกวดวิชา (เพราะไม่มีสอบ จะกวดไปทำไม) เน้นพัฒนาทักษะชีวิต (เพราะเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด) สร้างระบบที่สอนให้ เ ด็ ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายของ เ ด็ ก เป็นสำคัญ

แต่ทั้งนี้ โรงเรียนที่ดีของแต่ละบ้านก็คงไม่เหมือนกัน แต่เป็นสิ่งที่พ่อแม่และลูกต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกันว่า “ครอบครัวเราจะไปในแนวทางไหน (สายชิลล์หรือสายกวด)”

ขอขอบคุณ : ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here