ก่อนซื้อของจากคนจน 1 นาทีเปลี่ยนความคิดของคุณ

0

ก่อนซื้อของจากคนจน 1 นาทีเปลี่ยนความคิดของคุณ

เรียกได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสัจธรรมของชีวิตเลยก็ว่าได้ นี่อาจจะเป็นนิสัยของใครหลายคนที่ชอบทำตามกระแสสังคม เพื่อยกยอปอปั้นให้ตัวเองนั้นเป็นคนที่มีหน้ามีตา

และเรื่องราวที่กำลังจะนำเสนอในวันนี้อาจจะตรงกับใจของใครหลายคน และอาจจะเปลี่ยนความคิดของคุณไปตลอดกาลเลยก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องราวระหว่างคุณนายกับชายชราขายไข่ โดยเรื่องนั้นมีอยู่ว่า

คุณนาย : ฉันต้องการมาซื้อไข่ 6 ฟอง ในราคา 25 บาทได้ไหม (แท้ที่จริงแล้วควรจะเป็น 30 บาท)

ชายชราตอบกลับไปว่า : แล้วแต่คุณนายเถอะครับ ต้องการที่จะซื้อเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้นตามสะดวก วันนี้อาจจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีของผมก็ได้ เพราะว่าตั้งแต่เช้ายันบ่ายยังขายไข่ไม่ได้เลยสักใบ

และแล้วคุณนายก็หิ้วไข่ 6 ฟองเดินขึ้นรถเก๋งที่มีเพื่อนๆนั่งกันอยู่เต็มรถ และหันกลับมายิ้มเยาะเย้ยว่าตนเองนั้นซื้อขายได้ในราคาถูกกว่าในตลาด

หลังจากนั้นคุณนายและเพื่อนๆก้อไปภัตตาคารร้านอาหารหรูแห่งหนึ่ง สั่งอาหารมาเต็มโต๊ะ และกินกันอย่างเพลิดเพลินจำเริญใจ แต่ก็กินกันไม่หมดแถมยังเหลืออีกมากมายตั้งเยอะแยะ

จนในที่สุดก็เรียกทางร้านมาเช็คบิล ราคาทั้งหมด 1400 คุณนายยื่นเงินจ่ายไป 1500 แล้วบอกว่า ไม่ต้องทอนนะค่ะ…เงินแค่นี้มันธรรมดามากสำหรับเจ้าของภัตตาคาร

แต่สำหรับพ่อค้าไข่ชรา มันอาจจะเป็นความเจ็บปวดก็ได้นะ

จุดสำคัญคือว่า ทำไมเราชอบโชว์ว่า เวลาเราซื้อของจากพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นชาวบ้านลำบากอยู่แล้ว เรามักต่อรองราคาและรู้สึกพึงพอใจ

ถ้าหากว่าเราต่อราคาได้ถูกกว่าราคาที่เขาขาย..แล้วทำไมเรามักไม่เคยได้ต่อรองราคาสินค้าราคาแพงๆ ที่วางขายในห้าง ในร้านใหญ่ๆ ที่เขาโก่งราคาไว้เรียบร้อยหมดแล้ว

พ่อของผม มักจะชอบซื้อของจากคนจนๆ และให้ราคาสูง ทั้งๆที่พ่อไม่ได้ต้องการสินค้าเหล่านั้น บางทีพ่ออาจจะต้องการให้เงินแก่พวกเขาเพื่อนำไปใช้เลี้ยงครอบครัวเขาก็ได้…

ผมเคยถามพ่อดูว่าทำไมพ่อทำแบบนั้น พ่อตอบว่า “มันเป็นการทำบุญ ที่มีคุณค่ามากนะลูก” (ที่จริงจะว่า มันเป็นการช่วยเขา ที่ทำให้เขาไม่เสียศักดิ์ศรี ก็ได้นะ)

และยังมีอีกเรื่องที่ขอให้ทุกคนได้อ่านดู เป็นเรื่องเกี่ยวกับการต่อราคา

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร เรื่องจริงจากลุงขายมะพร้าว ที่ถูกคนรวยต่อราคา

ว่าด้วยเรื่อง “ต่อราคา” การพูดโต้ตอบ ระหว่างคนซื้อมะพร้าวน้ำหอมกับคนขาย เวลาไปซื้อของแถวตลาดนัด หรือที่อื่นๆ คุณเคย…

“ต่อราคาของที่ซื้อไหม?” ฉันเป็นคนนึงนะที่เคยทำแบบนั้น

แล้วมีอยู่วันหนึ่ง ฉันอ่านไปเจอกับบทความในเพจเพจหนึ่ง ในบทความนั้นเป็นการสนทนาการต่อราคาของคนซื้อกับคนขาย เนื้อหาในบทสนทนานี้ไม่ได้ยืดยาวอะไรมากนัก แต่แฝงไปด้วยข้อเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจทำให้เรา ฉุกคิดและนึกย้อนกลับมามองตัวเอง อีกครั้ง…

คนขายมะพร้าวน้ำหอม ขายลูกละ 30 บาท แต่คนซื้อบอกว่าแพงไป

คนซื้อ : มะพร้าวน้ำหอม ลูกละ 30 บาท ทำไมแพงจัง ลดเหลือ 15 บาทได้มั้ยลุง

คนขาย : คงลดให้ไม่ได้หรอก เพราะปลูกเอง ไหนจะเอามาขายอีก ยืนตากแดดขายทั้งวัน คิดแค่ค่าต้นทุนก็เกิน 15 บาทแล้ว

ณ ตอนนั้น ในมือของคนซื้อถือแก้วกาแฟคาปูชิโน่อยู่ คนขายเลยถามไปว่า…

คนขาย : แล้วกาแฟคาปูชิโน่ที่ถืออยู่ในมือราคาเท่าไหร่ล่ะ

คนซื้อ : 150 บาท

คนขาย : แล้วคุณได้ต่อราคาเขาไหม ?

คนซื้อ : มันใช่หรอ กาแฟเค้ามียี่ห้อ จะต่อราคาได้ไง

คนขาย : กับคนรวย คุณไม่ต่อสักบาทเดียว แต่พอกับคนจน คุณกลับต่อราคาถึง 15 บาท คนซื้อยืนอึ้ง พูดอะไรไม่ออก (พออ่านจบ ฉันก็รู้สึกว่า เออ มันก็จริงนะ)

ถามว่า เพราะอะไรเราจึงต่อราคากับพ่อค้าจนๆ ที่ต้องยืนขายของกลางแดดร้อน แต่กลับไม่เคยต่อราคากับผู้ค้าที่ร่ำรวยตามห้างฯหรือภัตตาคาร

ทำไม? จึงต้องมาเอาเปรียบคนจนที่ต้องทำงานหนัก ถ้าเราเป็นหนึ่งในคนที่ร่วมเอาเปรียบคนจนอยู่ เราใช้จ่ายในห้างเป็นพันๆ ตามห้างฯและร้านอาหารหรูๆ แต่กลับต่อราคากันบาทต่อบาทกับคนจน ซึ่งต้องทำงานหนักเลี้ยงตัวเองและครอบครัวของเขา

อย่าได้ต่อราคากับคนที่เขาทำงานหาเช้ากินค่ำเลย อะไรที่ช่วยกันได้ก็ช่วยๆกันไปเถอะครับ

โดยส่วนตัวแล้วเรามักจะชอบซื้อของจากคนที่ขายของตามข้างทาง ซื้อนั่นไม่ได้ต้องการที่จะได้ของ ต้องการที่จะช่วยอุดหนุนแก ยิ่งถ้าเป็นคนที่สูงอายุ ก็ยิ่งต้องการที่จะช่วย

แน่นอนว่าเงินนั้นมีค่ามากมาย แต่สำหรับคนบางคน เขาสามารถนำเงินเล็กๆน้อยๆที่เราอุดหนุนเขาไปทำอะไรได้หลายอย่าง เราไม่มีทางรู้เลยว่า ในวันพรุ่งนี้เขาจะมีเงินให้ลูกไปเรียนหนังสือหรือเปล่า อย่าได้ต่อราคาเลยครับ

สุดท้ายนี้ฝากไว้ว่า ”ความสุขยิ่งให้ยิ่งได้รับ”

ผมเชื่อว่าใครหลายคนที่อ่านจบและอาจจะไม่ส่งไปให้เพื่อนๆได้อ่าน แต่ลองทำดูสักหน่อยก็ยังดี อาจจะเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคนให้ดียิ่งขึ้น

เขียน / เรียบเรียงส่วนหนึ่งโดย : Postsara

ขอขอบคุณ : fw line

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here