หนุ่มเรียนสูงแต่หันมาทำนา ผันตัวเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์ผลิต “ไข่ขบถ”

0

หนุ่มเรียนสูงแต่หันมาทำนา ผันตัวเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์ผลิต “ไข่ขบถ”

สำหรับในช่วงนี้เป็นการเปิดชีวิตของอดีตหนุ่มธนาคารวัย 31 ปี ได้ขอลาออกมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ หลังโดนหยามว่าบ้า เรียนจบด็อกเตอร์เรียนสูงแต่ทำนา เลี้ยงไก่แบบอินทรีย์ผลิต “ไข่ขบถ” ปลูกผักคุณภาพดี ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคืนความรู้ให้กับชุมชน

การจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ต้องขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? การยึดแบบแผนเดิม ๆ การปรับเปลี่ยนวิธี หรือการลุกขึ้นมาเขียนตำราชีวิตของตัวเองจนได้เล่มที่ดีที่สุด ซึ่งที่บ้านรักษ์ดิน ซอยอู่ทอง 16 หมู่ที่ 9 ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มีหนุ่มคนหนึ่งซึ่งดูผิวเผินก็เป็นเพียงหนุ่มอาชีพเกษตร ที่ง่วนอยู่กับการเลี้ยงไก่ ปลูกผัก ทำนา ไม่ได้มีอะไรพิเศษเหนือไปกว่าชาวบ้านคนอื่น ๆ

แต่ทว่าในความเป็นจริงอีกด้าน หนุ่มคนนี้กลับเป็นถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งสอนอยู่ที่คณะนวัตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต ชื่อว่า “สิริกร ลิ้มสุวรรณ” ดำรงตำแหน่ง ผอ.สถาบันบ่มเพาะและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถี ไ ท ยและอาหาร ในวัยเพียง 31 ปีเท่านั้น เมื่อเสร็จจากภาระการสอนก็จะกลับไปเป็นหนุ่มชาวไร่ชาวสวนธรรมดาคนหนึ่ง ที่รักวิถีชีวิตท้องไร่ท้องนา และชื่นชอบการทำเกษตรแบบคนรุ่นใหม่

แต่ตำราชีวิตเล่มนี้กว่าจะมาอยู่ตรงหน้าของทุกคนในวันนี้ ชีวิตของเขาได้ผ่านทั้งอุปสรรคและแรงกดดันจากสังคมไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว

เด็กมัธยมฯ ปลายจากรั้ว “โรงเรียนสมเด็จย่า” หรือ รร.เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ได้ซึมซับและชอบเรียนรู้โครงการพระราชดำริ กระทั่งเรียนต่อปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ แต่เมื่อจบได้ทำงานในฝ่ายการตลาดของธนาคารแห่งหนึ่ง ที่ชีวิตและเงินเดือนก็ไปได้ด้วยดี ซึ่งนั่นน่าจะโอเคไม่ใช่เหรอ?

คำตอบ คือ “ผมไม่ได้มีความสุขกับงานแบงก์เท่าไหร่นะครับ เรามัวแต่สวมแว่นตาของคนเมือง แต่ชาวบ้านเขาสวมแว่นตาแห่งความสุข บางครั้งใน 1 วันไม่จำเป็นต้องใช้เงินด้วยซ้ำ มันทำให้เห็นว่าปลูกผักปลูกหญ้าเราก็อยู่ได้”

เขาย้อนความทรงจำให้ฟังว่า ในปีพ.ศ. 2548 สมัยที่เขายังเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยรังสิต เกิดการชุมนุมของชาวเกษตรกร จึงลงไปพูดคุยจนรู้ว่า “อ๋อ…ถ้าเขาไม่เดือดร้อนก็ไม่ออกมาชุมนุมหรอ” และเริ่มสนใจเกษตรอย่างจริงจัง สิ่งแรกที่อยากจะทำคือ…อยากจะทำกิจกรรมเพื่อชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการที่อยากจะพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญมากยิ่งขึ้น

แต่อีกมุมหนึ่งความคาดหวังของคนในครอบครัว เนื่องจากเขาเป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน จึงทำให้คุณพ่อซึ่งทำงานการไฟฟ้าฯ และคุณแม่ที่เป็นรองผอ. ศาลจังหวัดกาญจนบุรี ท่านทั้งสองเกิดความไม่เข้าใจในสิ่งที่ลูกชายคนนี้กำลังจะลงมือทำ

ช่วงเวลาว่างจากการเรียน เขาใช้เวลานั้นกลับไปที่บ้านเสมอ ๆ ลงมือเลี้ยงไ ส๊เดือนเพื่อผลิตเป็นปุ๋ย เลี้ยงวัว ศึกษาการทำนา ปลูกผักคะน้า ผักกาดแก้ว ผักกวางตุ้ง เพราะซึมซับและเรียนรู้มาจากคุณยายวัย 80 ปี (ขณะนี้ท่านจากไปแล้ว) อีกทอดหนึ่ง ซึ่งคุณยายมีลูกทั้งหมด 7 คน แต่ไม่มีใครประกอบอาชีพเกษตรเลย

นั่นเป็นเพียงคำนำไม่กี่หน้าของตำราชีวิตหนุ่มคนนี้ จนกระทั่งได้มาทำงานที่ฝ่ายการตลาดของธนาคาร แต่หลังจากนี้ต่างหากที่เขาพยายามใช้ปากกาด้ามที่แข็งแรงที่สุด ร่างอนาคตที่เขาจะเป็นผู้กำหนดเอง เพราะการตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เนื่องด้วยระบบงานที่พรากเวลาชีวิตไปจากครอบครัว แม้กระทั่งแม่ของเขาป่วยก็ยังหาจังหวะลางานไม่ได้

“เราทำงานมีเงินเก็บนะครับ แต่เหมือนเราไม่มีชีวิต แม่ป่วยก็ลาไม่ได้ มันทำให้เราคิดว่าต้องมีเวลาให้ครอบครัวบ้าง เราขายได้ทุกอย่าง แต่เราจะขายจิตวิญญาณไม่ได้ คุณพ่อก็บอกว่าให้คิดดี ๆ ลาออกมาทำเกษตรกรมันไม่ง่าย ยิ่งทำยิ่งเหนื่อย และทางที่จะรวยมันยากด้วย”

เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากลาออกจากธนาคาร เป็นวันแรกที่เขาลงดำนาปลูกข้าวหอมมะลิ 100% จำนวน 3 ไร่ด้วยตัวเขาเอง เพื่อสู้กับการทำนาแบบไม่ดีแปลงใกล้เคียง ลองดูว่าจะรอดหรือไม่รอด ซึ่งเมื่อผ่านไป 4 เดือน ได้ข้าวเปลือก 1 ตัน และสีออกมาได้ข้าวสา ร 800 กก. โดยครึ่งหนึ่งเก็บไว้กิน ส่วนอีกครึ่งนำไปบดเป็นผงเพื่อจำหน่ายเป็นผงผอกหน้า ฉะนั้นแล้วไม่ได้แข่งกันที่ปริมาณ แต่แข่งกันที่นวัตกรรม เพราะไม่มีใครอยากได้ผลิตภัณฑ์ที่ปนสา ร ผู้บริโภคทุกคนก็อยากได้อะไรที่เป็นอินทรีย์กันทั้งนั้น

“…ก็อยากจะลองดูว่า เสื้อผ้าเกาหลียังรอพรีออเดอร์กันได้ แล้วทำไมสินค้าเกษตรถึงจะรอกันไม่ได้ จึงตัดสินใจศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อเปิดตลาดออนไลน์แล้วได้ใช้ความรู้จากปริญญาโทสาขาวิชากฎหมายมหาชน จัดตั้งบ้านรักษ์ดินเป็นวิสาหกิจเพื่อชุมชน ปลูกผัก ปลูกผลไม้อย่างไร เลี้ยงหมุหลุม เลี้ยงไ ส๊เดือน โดยเฉพาะเลี้ยงไก่ขายไข่ขบถ และต่อยอดถึงปริญญาเอก จนกระทั่งพ่อกับแม่เปิดใจยอมรับ กับคำถามและความสงสัยที่ว่า…ที่นั่งพิมพ์อยู่หน้าจอมันจะมีเงินเข้ามาในบัญชีได้อย่างไร”

ในวันนี้เขาพิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่แต่ละคนครหาเขาว่า “ จบปริญาโท ปริญาเอก เป็นดร. แต่เลือกมาทำนา” เป็นเพียงแค่ชุดความเชื่อเดิม ๆ ที่ยังไม่ปรับเปลี่ยน “ผมได้คำตอบให้แม่แล้ว” การทำงานในห้องแอร์แต่ไร้ความสุขและเวลาให้ครอบครัว ใครจะอยากทำ ลองถามใจตัวเองว่าตรงกันข้ามจะหอมหวานแค่ไหน ถ้าความสุขที่ได้ในชีวิตล้นออกมาจากการทำงาน เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากแรงกดดันให้เป็นผลักดัน คำเหยียดหยามทั้งหมดก็จะได้รับการพิสูจน์ในที่สุด

และครั้งหน้าจะพาไปเจาะวิธีการทำเกษตรแบบคนรุ่นใหม่ ใครที่ชื่นชอบและสนใจอยากนำไปปรับใช้ไม่ควรพลาด เพราะดร.หนุ่มวัยเพียง 31 ปีคนนี้ ไม่หวงความรู้แม้แต่น้อย ยินดีที่จะช่วยเพื่อนร่วมอาชีพให้ลืมตาอ้าปากได้…ทำไมนึกจะทานข้าว ไม่นึกถึงมาตรฐานข้าวของประเทศ

ขอขอบคุณ : คอลัมน์ : นิยายชีวิตอาทิตย์สไตล์ ,ทวีลาภ บวกทอง, dailynews

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here