เผยอาการ “โรคนิมโฟมาเนีย” หรือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” วัยรุ่นเป็นเยอะ

0

เผยอาการ “โรคนิมโฟมาเนีย” หรือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” วัยรุ่นเป็นเยอะ

สำหรับในวันนี้เราจะมาดูในเรื่องของ อาการของ “โรคนิมโฟมาเนีย” หรือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วใครมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้บ้าง

โรคนิมโฟมาเนีย (Nymphomania) ตัวตนที่แท้จริงสำหรับโรคนี้เป็นโรคที่ขาดผู้ชายไม่ได้ จะมีลักษณะที่ต้องการในเรื่องของเพศ หรือที่เรียกว่าโรคฮิสทีเรีย

แต่แท้จริงแล้วนั้นเป็นความเข้าใจผิดอันเกิดมาจากการคาดเดา จากการแสดงออกมาบางอย่างของผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีเท่านั้น ซึ่งความเข้าใจนั้นทำให้หลายคนเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อกลุ่มผู้ที่เป็นฮิสทีเรีย เรามาสร้างความเข้าใจใหม่ร่วมกันในวันนี้ เราจะพาไปทำความเข้าใจและรู้จักกับฮิตทีเรียกันก่อน

บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย

สำหรับผู้ที่มีบุคลิกภาพเช่นเดียวกับฮิสทีเรีย จะมีลักษณะ ท่าทาง ลีลา การแสดงออกที่มากเกินกว่าคนปกติทั่วไป รวมเพลงอาจมีท่าทีกิริยาเชิญชวน จริตจะก้าน ยั่วยวน ทั้งนี้บุคลิกเรานี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง

เนื่องจากมีความเป็นเด็กในตัวสูง ซึ่งสาเหตุของบุคลิกภาพแบบนี้ มาจากการขาดความรักในวัยเด็ก ทำให้พวกเขาโหยหาความรักอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นเรื่องของความปรารถนาทางเพศ หรือต้องการเติมเต็มด้านเพศอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด

สาเหตุของโรคนิมโฟมาเนีย

1. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งสารสื่อนำประสาท (Neurotransmitters) ในสมองมากกว่าปกติ เช่น เซโรโทนิน (Serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) รวมถึงการเกิดความผิดปกติในสมองตรงบริเวณที่ส่งผลต่อการเกิดความต้องการทาง เพศ

2. ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งมีทั้งในชายและหญิง ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อการควบคุมทาง เพศ

3. การขาดสมดุลระหว่างอารมณ์และจิตใจ

4. พันธุกรรม

5. สภาพแวดล้อม

6. ความเครียด

7. บาดแผลทางจิตใจ จากเหตุการณ์ในชีวิต

8. การได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือติดสารเสพติด

ลักษณะของผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย

1. มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้

2. มักจะสำเร็จความ ใคร่ด้วยตนเอง

3. ใช้บริการทาง เพศจากการแชท ภาพ หรือใช้บริการออนไลน์

4. มีการแสดงออกทางเพศอย่างผิดปกติ เช่น ชอบความเจ็บปวด (Masochistic) ชอบความรุนแรง (Sadistic) และพฤติกรรมทางเพศอื่นๆ

5. ชอบโชว์

6. พูดจาลามก หรือแสดงท่าทางในลักษณะว่ามีความต้องการทางเพศตลอดเวลา

ทั้งนี้ สำหรับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย แม้ว่าจะทำให้พวกเขาถูกคนรอบข้างมองว่ามีความสำส่อนในเรื่องเพศ หรืออาจจะถูกคนในสังคมมองในด้านลบ เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆ ของพวกเขานั้นเป็นเรื่องที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม

จนถูกเรียกว่า ขาดผู้ชายไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยนิมโฟมาเนียนั้น ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเห็นใจไม่ใช่น้อย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพวกเขาเหล่านั้นก็คือผลจากพฤติกรรมที่ถูกบีบบังคับของโรคนิมโฟมาเนีย ซึ่งทำให้พวกเขาต้องประสบกับปัญหามากมาย ที่ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดและความไม่สบายใจแก่พวกเขา ดังต่อไปนี้

การบำบัดผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย

1. การบำบัดแบบ Cognitive behavioral therapy (CBT) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดความต้องการได้

2. ครอบครัวบำบัด หรือสังคมบำบัด

3. พูดคุยบำบัด

4. การใช้ยา ประกอบด้วยยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท และยาสำหรับรักษาโรคทางจิต

5. มีการพบว่า การบำบัดด้วยวิธีพื้นบ้านอย่างการนวดบำบัด หรือโยคะ สามารถบำบัดให้ผู้ป่วยรับมือกับโรคได้ดีขึ้น

และนอกจากการเข้ารับการบำบัดดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถวางแผนการใช้ชีวิต เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการรับมือกับโรคได้ ด้วยการทำตามคำแนะนำเพื่อสุขภาพดังนี้

การพัฒนาอาการโรคนิมโฟมาเนีย

1. ทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล

2. เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างความสุขให้แก่ตัวเอง

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับอย่างเพียงพอ

4. เข้าร่วมในกลุ่มสนับสนุน

5. มองหาการสนับสนุนจากเพื่อนๆ และครอบครัว

ทั้งนี้ สำหรับการรับมือต่อโรคนิมโฟมาเนียของผู้ป่วยนั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเข้าใจและแรงสนับสนุนจากบุคคลรอบตัวของพวกเขา โดยเฉพาะกับครอบครัวที่จะเป็นทั้งแรงใจ และสิ่งเหนี่ยวรั้งให้ผู้ป่วยสามารถอดทนต่อความพยายามในการควบคุมอาการของโรค

จากทั้งหมดนี้ ทุกคนคงทราบกันแล้วนะคะว่า โรคฮีโมฟีเลีย กับ โรคนิมโฟมาเนีย นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และเหตุใดถึงเกิดความเข้าใจผิดว่า อาการขาดผู้ชายไม่ได้ หรือลักษณะที่ผู้หญิงมีความต้องการทางเพศสูงนั้น เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ทั้งที่ต้นตอและลักษณะอาการของโรคมีความต่างกันโดยสิ้นเชิง

แต่ไม่ว่าจะเป็นโรคใด ผู้ป่วยที่ประสบกับโรคทั้ง 2 นี้ ต่างก็ต้องการแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างเป็นอย่างมาก อย่าเพิ่งมองพวกเขาในด้านลบเสมอไป แต่หันมาทำความเข้าใจต่อสิ่งที่พวกเขาเป็น แทนการตัดสินแต่เพียงสิ่งที่เราเห็นเขาเพียงภายนอกดีกว่านะคะ

ขอขอบคุณ : kapook , item2day

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here